คุณภาพการให้บริการไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ไทยวัน ศิริมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานีจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประเภทการบริการ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน (Proportionate Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบ สอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .952 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณภาพการใหบ้ ริการของไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านความเป็นรูปธรรมในการให้บริการ และด้านการตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจในการให้บริการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการดูแลเอาใจใส่ในการให้บริการ ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานีจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประเภทการบริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน เห็นว่าคุณภาพการให้บริการของไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานี ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพการให้บริการในด้านความเป็นรูปธรรมในการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันเห็นว่าระดับคุณภาพการให้บริการของไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานี ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการให้ความมั่นในในการให้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้ประเภทการบริการแตกต่างกัน เห็นว่า ระดับคุณภาพการให้บริการทั้งในภาพรวมและรายด้าน ด้านความเป็นรูปธรรมในการให้บริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองความต้องการด้านการให้ความมั่นใจในการให้บริการ และด้านการดูแลเอาใจใส่ในการให้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือนต่างกันเห็นว่า ระดับคุณภาพการให้บริการของไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ด้านความเป็นรูปธรรมในการให้บริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองความต้องการ ด้านการให้ความมั่นใจในการให้บริการ และ ด้านการดูแลเอาใจใส่ในการให้บริการไม่แตกต่างกัน

 

Quality of Mail Services of Ubon Ratchathani Province Post

This quantitative research aimed to study the quality of service of Ubon Ratchathani Province Post as perceived by customers classified by gender, age, education, occupation, monthly income, and service type. The sample group consisted of 370 customers selected by means of proportionate stratified random sampling. The research instrument was a questionnaire with a five-level rating scale which yielded a reliability value of .952. The data were analyzed using percentages, means, standard deviations, t-test, and F-test. Results showed that: 1. The overall quality of service of Ubon Ratchathani Province Post was perceived to be at a medium level with the mean scores from high to low for each aspect of service quality being trustworthiness, tangibility of the service quality, responsiveness, reliability (3.34), and empathy; 2. Comparisons of customers’ perceptions regarding the quality of service yielded the following results. Customers of different genders were significantly different at the level of .05 and .01 respectively in their perceptions regarding overall service quality and the aspect of the tangibility of the service quality. Those with differences in education had significantly different perceptions regarding the overall quality of service, trustworthiness, and reliability at the levels of .01, .01, and .05 respectively. Customers who used different types of service were significantly different, at the level of .01, in their perceptions regarding the overall and all aspects of the service quality. Customers of different ages, occupations, and monthly incomes were not significantly different in their perceptions regarding the overall and all aspects of the quality of service.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)