ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน สังกัด กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 6

Main Article Content

ประจวบ มูลประดับ
อรทัย เลียงจินดาถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน สังกัด กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 6 2) ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยคํ้าจุนในการปฏิบัติงาน และ 3) แนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 145 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย โดยค่า t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) โดยค่า F-test และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) นายทหารประทวนส่วนใหญ่มี อายุมากกว่า 45 ปี ระดับชั้นยศ สิบตรี – สิบเอก ระดับรายได้ต่อเดือนมากกว่า 21,901 บาท ขึ้นไป ระยะเวลาปฏิบัติงานมากกว่า 21 ปี ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 5 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. หรือเทียบเท่า สถานภาพ สมรส/อยู่ด้วยกัน และผ่านการอบรม 1 - 3 หลักสูตร 2) ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของนายทหารประทวน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง และ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ สถานภาพการสมรส รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษาระดับชั้นยศ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรทางทหารไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน อย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

Performance Effectiveness of Non – Commission Officers under the 1st Infantry Battalion of the 6th Infantry Regiment

The objectives of this study were to examine 1) the effectiveness of the performance of non-commissioned officers in the First Infantry Battalion of the Sixth Infantry Regiment, 2) motivational and supportive factors in work performance, and 3) guidelines to increase the effectiveness of performance. Mixed methods of research were used in this study and data were collected using questionnaires and interviews from 145 participants and analyzed using descriptive statistics including frequencies, percentages, means, and standard deviations, inferential statistics including t-test, one-way analysis of variance (One-way ANOVA) with the F-test and multiple comparison test, and LSD method, and content analysis of data collected from the interviews. The results showed that: 1) most non-commissioned officers are aged more than 45 years with the rank from lance-corporal to sergeant, have a monthly income of more than 21,901 baht and a length of working period of more than 21 years, took up the position for not more than five years, have an educational level of high school certificate/vocational certificate or equivalent, were married or cohabiting, and participate in one to three military training courses, 2) the overall effectiveness of performance of the non-commissioned officers is at a moderate level, and 3) according to the hypothesis testing, it was found that age, marital status, monthly income, educational level, rank, length of working period, and participation in military training courses are not statistically significant related to the effectiveness of performance at the 0.05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)