กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชี ของครูการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

Main Article Content

จันทร์ประไพ ชัยสูงเนิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีของครูการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก 2) ศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีของครูการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก และ 3) ศึกษาเจตคติของผู้บริหารสถานศึกษาและครูการเงินที่มีต่อกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีของครูการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ศึกษากับกลุ่มเป้าหมายโดยเลือกแบบเจาะจง การศึกษาระยะที่ 1 เป็นการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสภาพการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในจังหวัดชัยภูมิ ทั้ง 3 เขต จำนวน 248 แห่ง นำมากำหนดเป็นกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชี และประเมินคุณภาพของกระบวนการโดยผู้เชี่ยวชาญ การศึกษาระยะที่ 2 เป็นการนำกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีไปทดลองใช้กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กจำนวน 13 แห่ง วิเคราะห์หาประสิทธิภาพและปรับปรุงกระบวนการ และการศึกษาระยะที่ 3 เป็นการนำกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีไปทดลองใช้กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก จำนวน 15 แห่ง วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนาสารสนเทศงานการเงินและบัญชี ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกตการปฏิบัติงาน การประเมินประสิทธิภาพผลงาน การประเมินผลการเรียนรู้ของครูการเงิน การสะท้อนผลการปฏิบัติ และการสอบถามความคิดเห็น

ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีของครูการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก มี 6 ขั้น 18 องค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดนโยบายและผู้รับผิดชอบ มี 2 องค์ประกอบ ขั้นที่ 2 จัดเตรียมความพร้อมครูการเงิน มี 3 องค์ประกอบ ขั้นที่ 3 กำหนดแนวทางพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีมี 5 องค์ประกอบ ขั้นที่ 4 ออกแบบโปรแกรมระบบบัญชี มี 4 องค์ประกอบ ขั้นที่ 5 นำโปรแกรมระบบบัญชีไปใช้ มี 3 องค์ประกอบ และ ขั้นที่ 6 สะท้อนผลการปฏิบัติ มี 1 องค์ ประกอบ 2) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีของครูการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก พบว่า กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีของครูการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ครูการเงินมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3) ผลการศึกษาเจตคติของผู้บริหารสถานศึกษาและครูการเงิน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูการเงินมีเจตคติที่ดีต่อกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศงานการเงินและบัญชีของครูการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

 

The Development of Financial and Accounting Information Systems for Financial Teachers in Small Sized Basic Schools

The purposes of this research were to: 1) determine the development process of financial and accounting information systems for small basic schools; 2) study this process; and 3) study the attitudes of school principals and teachers involved in the schools’ financial sections toward the process. The sample of this study was 248 small basic schools in 3 areas in Chaiyaphum province selected by purposive sampling. The methodology of the study consisted of 3 phases. Phase 1 involved the synthesis of documents and related research, and the conditions of financial and accounting administration in the schools. The synthesized data was taken to determine the development process of the financial and accounting information systems and the quality of the process was assessed by experts. In phase 2, the development process of the systems was trialed in 13 small basic schools and an analyst to determine the efficiency and improve the process. In phase 3, the development process was tested in 15 small basic schools and again the analyst determined the efficiency. Data were collected by the use of semi-structured selection interviews, observations of work performance, assessment of work effectiveness, assessment of achievement of teachers in the financial sections, reflections on work output, and asking opinions. The study found firstly that the development process for small basic schools consisted of six steps and 18 components (step 1 making policy and setting of responsibilities – two components; step 2 ensuring teachers’ readiness– three components; step 3 the establishment of the development process – five components; step 4 the design of the financial system program – four components; step 5 implementation of the financial system program – three components; step 6 reflection on the results. Secondly, the study showed that the process was effective and passed the criteria, and the teachers’ learning achievements satisfied the evaluation criteria. Finally, the study indicated that the school administrators’ and teachers’ attitudes toward the development process were positive.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)