แนวคิดเรื่องหลักสุจริตในตั๋วเงิน

Main Article Content

ตรีเนตร สาระพงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดหลักสุจริตในตั๋วเงินในฐานะเครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นมาตรฐานควบคุมความประพฤติของบุคคล จากการศึกษาพบว่าแนวคิดเรื่องหลักสุจริตในตั๋วเงินมีหลายแนวคิดไม่ว่าจะเป็นหลักสุจริตของกฎหมายฝ่ายศาสนจักรซึ่งความสุจริตคืออารมณ์ของจิตวิญญาณที่ถูกต้องตามศีลธรรมและกฎหมาย ส่วนหลักสุจริตในกฎหมายโรมันมีความพยายามที่จะเอา “เหตุจูงใจ” ออกจาก “ความเชื่อ” โดยถือว่าความสุจริตคือความยุติธรรม ความเที่ยงตรง การเล่นตามกติกา ในขณะที่ระบบคอมมอนลอว์ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปเป็นสามฝ่าย อย่างไรก็ตามหลักสุจริตได้มีการนำมาใช้โดยเรียกว่าหลัก “ผู้รับโอนโดยสุจริตมีสิทธิดีกว่าผู้โอน” เป็นหลักที่ใชกั้บตั๋วเงิน โดยหลักดังกล่าวนำมาใช้กับคู่สัญญาที่อยู่ห่างไกลกัน(Remote Party)ในตั๋วเงิน ซึ่งมีความผูกพันกันตามหลักสัญญาลำดับรอง(Secondary of contract) กล่าวคือทุกครั้งที่มีการโอนตั๋วไปก็จะมีการสะสมตัวลูกหนี้ของลูกหนี้ลำดับรอง (The Accumulation of Secondary of Contract) ต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่มีการโอนเปลี่ยนมือตราสารนั้นก็อาจจะไม่สมบูรณ์หรือทำให้สิทธิบกพร่อง ซึ่งส่งผลให้ผู้ออกตั๋วสามารถอ้างได้ว่าผู้ทรงนั้นได้ตั๋วเงินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้ผู้ทรงไม่มีสิทธิในตั๋วเงินตามหลัก “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” ซึ่งจะเกิดปัญหาการไม่ไว้วางใจกัน ในกฎหมายตั๋วเงินจึงไม่นำหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนมา ใช้หากแต่จะนำหลักผู้รับโอนโดยสุจริตมีสิทธิดีกว่าผู้โอนมาใช้กล่าวคือหากผู้รับโอนตั๋วเงินเป็น ผู้สุจริต และไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็จะเป็นผู้ที่มีสิทธิในตั๋วเงินนั้นดีกว่าผู้โอนในส่วนที่พิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ก็พบว่าผู้ทรงซึ่งได้ตั๋วเงินมาโดยสุจริตก็ไม่จำต้องคืนตั๋วเงินให้แก่ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของตั๋วเงิน เว้นแต่จะเป็นข้อต่อสู้ที่ปรากฏในตัวตราสารเองหรือเป็นข้อต่อสู้ธรรมดาสืบจากลักษณะแห่งตราสารนั้นตามมาตรา 312 จึงเห็นได้ว่าหลักสุจริต ใช้ต่อการประพฤติต่อกันในสังคมในการมีนิติสัมพันธ์กันทุกๆ กรณี จึงจะส่งผลให้เกิดความไว้วางใจกันและสามารถดำเนินการต่างๆ ร่วมกันอย่างสงบสุข อันเป็นหลักครอบจักรวาล (Generaklauseln)

 

The Concept of Good Faith in Negotiable Instrument Law

This article aims at studying the concept of good faith in the Bills as a tool that serves as a standard to control the behavior of individuals. This study found that there are several legal concepts of good faith in bills. The good faith under Christian religious approach is defined as a state of mind which is moral and legitimate. The good faith under the Roman law approach attempts to separate the ‘motive’ from ‘faith’ by holding that good faith is justice, upright, and legitimate, while the good faith in the common law approach can be interpreted in three different ways. However, when applying to the bills, the concept of good faith has been expressed as the concept ‘an assignee in good faith holds a better right than an assignor’, which commonly used in the circumstance where the parties lived in location far apart from each other (remote party) and are bound together by the concept ‘secondary of contract’ (secondary of contract) that is: every time the bill is transferred, the numbers of unknown debtors or secondary obligors will be contentiously accumulated (the Accumulation of Secondary of Contract). Meanwhile, the assignment of such bill might be incomplete or such right might be invalid. Consequently, the owner of the bill may claim that holder had unlawfully obtained such bill and thus, such holder has no rights in the said bill in accordance with the concept ‘no one can give what he does not have’ (Nemo dat quod non habet). This may lead to the problem of distrust, so the law relating to bills will not rely on the concept ‘no one can give what he does not have’, but such law rather relies on the concept ‘an assignee in good faith holds a better right than an assignor’. This means if the assignee receives the bill in good faith and without gross negligence, the assignee holds a better right than the assignor. In the case there is a dispute over the ownership of the bill, this article indicates that the holder of the bill who obtained the bill in good faith does not need to return such bill to the person who claims to be the ownership of it unless there are certain defences stipulated in the bill itself or normal defences as provided in section 312 of the Civil and Commercial Code. The concept of good faith can be applied to justify the behaviour of individuals in all legal rela tions, while it also promotes mutual trust and helps the parties to perform various tasks peacefully. The concept itself is universal. (Generaklauseln).

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)