แนวทางการประยุกต์หลักนิคมอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

Main Article Content

วิสาขา ภู่จินดา
วิวัฒน์ แก้วดวงเล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการประยุกต์หลักนิคมอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักพัฒนาชุมชน นักวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และผู้นำชุมชนเมืองและชนบท จำนวน 9 คน และทำการลงพื้นที่ชุมชนบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อสำรวจการดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์หลักนิคมอุตสาหกรรมเศรษฐนิเวศเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น มีความเป็น ไปได้เนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีการสื่อสารที่ดีภายในชุมชน และที่สำคัญมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมีทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ ชุมชนบ้านจำรุง มีการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน โดยยึดหลักการเศรษฐกิจพอเพียง เน้นคนในชุมชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนให้สอดคล้องกับระบบนิเวศโดยมีการหมุนเวียนทรัพยากรระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย สำหรับแนวทางในการประยุกต์หลักนิคมอุตสาหกรรมเศรษฐนิเวศ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ควรเริ่มจากการวิเคราะห์หรือประเมินทรัพยากรที่ชุมชนมีการประยุกต์หลักการดังกล่าวต้องระเบิดจากข้างใน ควรมีผู้นำที่เป็นศูนย์รวมในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน และจะต้องมีแผนในการพัฒนาชุมชน สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน และการสื่อสารภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรได้รับการได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

Application Guideline of an Eco-Industrial concept for Environmental Management in Community : A case study of Baan Chumrung, Klang District, Rayong Province

The objectives of this study were to study the activities in environmental management and to investigate the feasibility of and key success factors in the application of the concept of Eco-industrial Estate for environmental management in the Baan Chumrung community. In-depth interviews were held with community development officers, social development and environmental management officers, professionals in social development and environmental management, and leaders of communities in urban and rural areas to study the feasibility of this application in principle. A survey of activities related to environmental management in the community and in-depth interviews of the community‘s leader and representatives of each activity in the community were also conducted. The results showed that the application of the Eco-industrial Estate concept for environmental management is feasible in the Baan Chumrung community because there is good communication and participation within the community. The study found other factors that support this feasibility are that the community has an abundance of natural resources, has human capital in that members of the community exchange information two times a week, and new ideas are developed continuously. Suggestions for the application of this concept included that the co-operation of each activity should be carried out continuously, the benefits of the application should be displayed to the community, and involved units like local administrative organizations should support the community in terms of networking.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)