พลวัตการเคลื่อนไหวและการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล

Main Article Content

พนา ใจตรง
กนกวรรณ มะโนรมย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพลวัตในการเคลื่อนไหวของชาวบ้านปากมูล และวิเคราะห์แนวทางในการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล ซึ่งบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการเคลื่อนไหวต่อรองของชาวบ้านปากมูล เพื่อเปิด-ปิด ประตูระบายนํ้าเขื่อนปากมูล จากผลการศึกษาได้ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ เป้าหมายในการเคลื่อนไหวของชาวบ้าน คือการเปิดประตูระบายเขื่อนปากมูลอย่างถาวร ซึ่งชาวบ้านปากมูลได้ใช้กลยุทธ์ในการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบอย่างเป็นพลวัตทั้งภาคปฏิบัติการ เช่น การเดินขบวนร้องทุกข์ การชุมนุมยืดเยื้อไม่ย่นย่อ ทั้งในระดับพื้นที่ และที่หน้าทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งการติดตามการแก้ปัญหาแบบเกาะติดสถานการณ์ตลอด

เวลาและการยกระดับการเคลื่อนไหวทางสังคม ต่อสู้ ต่อรองโดยใช้วาทกรรมช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม การเมืองในหลายโอกาส เช่นการสร้างเครือข่ายทางสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศ การผลิตความรู้ผ่านงานวิจัยไทบ้าน และนักวิชาการ แต่ยังไม่สามารถต่อรองให้มีการเปิดประตูนํ้าเขื่อนปากมูลอย่างถาวรได้ ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐใช้วิธีคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อตอบสนองทุนตามการพัฒนากระแสหลัก และไม่ได้ให้ความสำคัญกับชาวบ้านในฐานะกลุ่ม หรือองคก์ รที่มีอุดมการณ์ทางสิ่งแวดล้อม แต่กลับมองชาวบ้านเป็นแค่กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองที่อาศัยคนนอกเข้ามาผลักดันให้กลายเป็นเครือข่ายทางสังคมในการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง ในขณะที่ชาวบ้านปากมูลได้พิสูจน์ความเป็นตัวตนของกลุ่มคนที่รวมกลุ่มกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ผ่านปฏิบัติการเคลื่อนไหวทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับ 2 ทศวรรษ การเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวบ้านปากมูลนั้น ถือเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลต่อการดำรงชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน หรือการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่มีความสำคัญกับมนุษย์ ดังนั้น การตัดสินใจแก้ปัญหาในเชิงนโยบาย รัฐจะใช้วิธีการทางการเมือง เรื่องของการต่อรองอย่างเดียวคงไม่สามารถแก้ปัญหาตามข้อเรียกร้องของชาวบ้านที่ต้องการให้รัฐบาลเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูลอย่างถาวรได้การฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนจึงไม่อาจเป็นจริงตามที่ชาวบ้านคาดหวังไว้ได้

 

Dynamics of the Movement and Struggle for the Recovery of a Community’s Livelihood from the Impact of Pak Mun Dam

This article, part of a thesis about negotiations by the residents of Pak Mun for the opening of the Pak Mun Dam, proposed to elucidate the dynamics of the Pak Mun Affected Communities’ Movement and analyze the struggle in the affected communities. The findings revealed that the villagers’ aim is to open the dam permanently. The residents employed diverse strategies, such as direct action consisting of rallies, petitions, and long-term protests in the local area and in front of Government House, as well as constant monitoring of the situation, raising the issue with groups in society, maintaining discourse in social space and political space, and networking via Thai Ban (Villagers) Research Knowledge Conduction and scholars’ alliances inside and outside Thailand. These strategies have been unsuccessful in opening the dam permanently because the state’s approach to environmental management is dominated by capitalism that neglects the villagers’

ideology of environmentalism. The state regarded the villagers’ group being made up of non-locals who used the social network movement to force negotiations while the villagers saw themselves as protectors of natural resources for sustainable development over a period of more than two decades. The Pak Mun Villagers’ Social Movement is a complex social phenomenon, especially the issues of livelihood, impact of the dam on local fishing, and crucial changes in ecosystems that affect people. The policy decision-making process used by the state in the politics of negotiations was unable to respond to the petitions of the villagers to open the dam permanently and the recovery of the community’s livelihood has not been completed.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)