การวิเคราะห์ทฤษฎีสัจนิยมใหม่ของเคนเน็ธ วอลซ์ ผ่านวิธีวิทยาการพิจารณาแบบย้อนกลับของแนวคิดสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ศิริสุดา แสนอิว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาลักษณะทางด้านภววิทยา ญาณวิทยา และวิธีวิทยาของแนวคิดสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อวิเคราะห์ทฤษฎีทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ ทฤษฎีสัจนิยมใหม่ (Neo-realism) ของเคนเน็ธ วอลซ์ ผ่านวิธีวิทยาการพิจารณาแบบย้อนกลับของแนวคิดสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์

ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แนวคิดสัจนิยมเชิงวิพากษ์ในฐานะปรัชญาสังคมศาสตร์ มีภววิทยาแบบยอมรับรากฐาน ที่เชื่อว่าความจริงมีอยู่ในธรรมชาติ แม้ว่าจะไม่ถูกรับรู้ก็ตาม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความจริงส่วนใหญ่มองไม่เห็นด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ และมีญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้เน้นที่การมองย้อนกลับเพื่อหากลไกการเกิด ซึ่งเป็นในลักษณะการพิจารณาย้อนกลับ (retroduction) เพื่อชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เป็นสาเหตุกับปรากฏการณ์ที่เป็นผลตามมา และเชื่อมโยงไปยังวิธีวิทยาของแนวคิดสัจนิยมจึงเป็นการสร้างตัวแบบ (model) จากกลไกดังกล่าวเพื่อนำมาอธิบายปรากฏการณ์

ประการที่สอง พบว่า ภววิทยาของทฤษฎีสัจนิยมใหม่ ของเคนเน็ธ วอลซ์ คือ การมีชุดฐานคติต่อความเป็นจริง เกี่ยวกับ “โครงสร้างของระบบระหว่างประเทศ” นั่นคือ โครงสร้างระบบระหว่างประเทศหลายขั้วอำนาจ แบบสองขั้วอำนาจ หรือ แบบขั้วอำนาจเดียว เป็นตัวกำหนดแบบแผนพฤติกรรมของรัฐในระบบระหว่างประเทศ และเมื่อนำญาณวิทยาเชื่อมโยงกับวิธีวิทยาการพิจารณาย้อนกลับไปวิเคราะห์ พบว่า แบบแผน พฤติกรรมของรัฐต่างๆ เป็นตัวแปรตามหรือเป็นผลลัพธ์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรต้นหรือเป็นสาเหตุ คือ โครงสร้างของระบบระบบระหว่างประเทศ ส่งผลให้เกิดลักษณะของแบบแผนพฤติกรรมของรัฐที่เกิดขึ้นสมํ่าเสมอ นั่นคือ การถ่วงดุลอำนาจระหว่างรัฐต่างๆ ในระบบระหว่างประเทศ

 

Analysis of the Neo-realism of Kenneth Waltz through the Retroductive Methodology of the Concept of Scientific Realism

This research studied the characteristics of ontology, epistemology, and methodology of scientific realism and analyzed the neo-realism of Kenneth Waltz, a theory of international relations, through the retroductive methodology of the concept of scientific realism. The study found that, firstly, the ontology of scientific realism is based on the ontology of foundationalism and believes that reality exists in natural thoughts that can be perceived or not perceived. In other words, most realities exist independent of human senses. The epistemology of scientific realism is the retroduction that identifies the relevance between cause and phenomenon. The methodology of scientific realism is the construction of models that explains the phenomenon. Secondly, the ontology of the neo-realism theory of Kenneth Waltz is a set of realities regarding the structure of the international system which is multipolar, bi-polar, and uni-polar. The structure of the international system is believed to determine the pattern of states’ behaviors in the international system. Neo-realism was framed by the epistemology and the retroductive methodology that identified the relevance between the structure of the international system as a cause or independent variable and the pattern of states’ behaviors as an effect or dependent variable. The balance of power between states could occur regularly in the international system.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)