การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยวิธีการจัดการความรู้

Main Article Content

สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

รัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดการภารกิจของรัฐ เริ่มตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งมอบสินค้า และบริการสาธารณะให้กับพลเมือง เป้าหมายสูงสุดอยูที่ความกินดีอยู่ดี และมีความสุขอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน จำเป็นจะต้องพัฒนาองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา วิธีการสร้างองค์ความรู้ที่ดีที่สุดก็คือวิธีการวิจัย หากพิจารณาถึงแก่นของการวิจัยจะพบว่า กรอบแนวคิดการวิจัยเป็นสิ่งสำคัญเพราะถือว่าเป็นสมมติฐานแห่งองค์ความรู้ใหม่ เมื่อกรอบแนวคิดการวิจัยผ่านขั้นตอนการพิสูจน์ด้วยกระบวนการวิจัยแล้วก็จะกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่แท้จริง กรอบแนวคิดการวิจัยเป็นกรอบเชิงทฤษฎีที่ลดรูปลงมาใช้สำหรับการวิจัยแต่ละเรื่อง แสดงให้เห็นถึงตัวแปรทั้งหมดที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหรือปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาหรือภาพพจน์ในการวิจัย โดยปกติกรอบแนวคิดได้มาจากศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย วิธีการการสร้างกรอบแนวคิดแบบนี้อาศัยการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งให้ความสำคัญเฉพาะองค์ความรู้เดิมถูกบันทึกไว้ ซึ่งเรียกว่าความรูทั้่วไปหรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อย่างไรก็ตามแนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge management) ได้ระบุว่าความรู้มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ความรู้ทั่วไปหรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้เฉพาะตัวหรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) จะเห็นได้ว่าความรู้เฉพาะตัว (Tacit Knowledge) ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย

วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย นอกจากใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังสามารถใช้วิธีการจัดการความรู้โดยการดึงองค์ความรู้ของผู้มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญมาหลอมรวมสร้างเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย จะทำให้ได้กรอบแนวคิดที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) การจินตนาการ ผู้วิจัยเริ่มต้นโดยอาศัยการคิดเชิงเหตุผล มองประเด็นปัญหาการวิจัยในเชิงระบบ เชน่ สภาวะที่เปน็ อยูห่ รือคุณลักษณะของสิ่งที่จะศึกษามีองค์ประกอบเบื้องต้นอะไรบ้าง ปัจจัยเชิงสาเหตุหรือเงื่อนไขที่ส่งผลต่อสภาวะนั้นได้แก่อะไรบ้าง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาวะที่เป็น อยู่นั่นทั้งเชิงบวกและเชิงลบ (2) การค้นหาความรู้ โดยการสรรหาตัวผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะทำวิจัย (3) การ สร้างความรู้ โดยการสังเคราะห์ความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้วิจัยกับผู้รู้ อาจมีหลายมีหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการทำรายงานการวิจัยตามหลักสูตรการศึกษา (สารนิพนธ์ การศึกษาอิสระ การศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ดุษฎีนิพนธ์ เป็นต้น) รูปแบบคณะวิจัย รูปแบบการคณะกรรมการวิจัย รูปแบบอื่น เป็นต้น (4) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ โดยการปรับปรุงกรอบแนวคิดการวิจัยให้สมบูรณ์ตามข้อมูลที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (5) ทบทวนวรรณกรรมยืนยัน ค้นหาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และ (6) สรุปเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยรูปแบบนี้อาศัยวิธีคิดแบบปฏิโลมวิธีหรือยุทธวิธีการคิดแบบย้อนกลับ (Backwards thinking) และจบด้วยอนุโลมวิธี (Forwards thinking)

 

A Creation of a Research Conceptual Framework for Public Administration by Knowledge Management Methodology

Public administration was related to government policy performances, based on production, product delivery, and public services to the citizens in order to provide comfortable life, happiness, and equality. To accomplish these ultimate goals, upto- date knowledge sources and studies of public administration had to be continually conducted, by the creation of its research conceptual frameworks as new knowledge hypothesis. The framework, tested by research methodologies, would be applied in some studies as a new knowledge source or a reduced theory. The studied framework derived from concepts, theories, related studies, data analysis, data synthesis, along with some literature reviews. The findings indicated that the conceptual framework could be created by the perspective of Knowledge Management, Explicit Knowledge and Tacit Knowledge. In this study, Explicit Knowledge or general information from expertise and experience of veterans was employed to originate an updated research framework, while Tacit Knowledge was not applied. All relevant variables and correlated research phenomenon appeared in the studied framework were applied to answer research questions. The establishment of the research framework began with (1) an imagination. Rationale thinking, research problem statement, problem cause, and problem conditions including positive and negatives results would be determined in this step. Then, (2) knowledge and data from specialists would be collected. (3) Knowledge creation from information exchange and data synthesis between researchers and experts in forms of thesis, independent study, individual study, dissertation, or research project were conducted. Research committee may be also established for conducting these studies. (4) The studied framework was edited consistent with the obtained information. (5) Relevant literature reviews were utilized to support the studied framework and (6) the framework was summarized by Backwards Thinking and Forwards Thinking.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)