ข้อพิจารณาด้านกฎหมายในการจัดการพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องตาอู ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ศุภชัย วรรณเลิศสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้เพื่อที่สร้าง “องค์ความรู้ในมิติกฎหมาย” โดยมีวัตถุประสงค์สามข้อคือ 1) ศึกษาการจัดการพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องตาอูขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษากฎหมายในการจัดการพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องตาอูขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องตาอูขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลเอกสาร 2) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ 3) การสำรวจภาคสนาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเป็นการพรรณนาวิเคราะห์ และการวิเคราะห์เชิงตีความ

ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า จุดผ่อนปรนช่องตาอูอยู่ในความรับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 จังหวัดอุบลราชธานี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากถูกประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและยังเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติอีกด้วย ดังนั้นหากองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามจะเข้าไปดำเนินการใดๆ เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณจุดผ่อนปรนช่องตาอู จะต้องดำเนินการตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการใช้พื้นที่เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นของส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2546 ซึ่งออกตามความในมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การขออนุญาตตามระเบียบนี้ ผู้ขออนุญาตจะต้องเป็นส่วนราชการหรือองค์การของรัฐเท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานหรือเพื่อประโยชน์ต่างๆ ของรัฐ เช่น ก่อสร้างสถานที่ราชการ โรงเรียน ถนนหรือทาง อ่างเก็บน้า เป็นต้น แต่หากกิจกรรมที่ขออนุญาตได้ถูกกำหนดไว้ในระเบียบซึ่งออกตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เช่น การสร้างวัด รวมตลอดถึงการจัดที่ดิน องค์การบริหารส่วนตาบลโพนงามจะต้องดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวด้วยเช่นกัน

สำหรับข้อเสนอแนะคือ 1) เชิงนโยบาย ผลักดันให้จุดผ่อนปรนช่องตาอูเป็นจุดผ่านแดนถาวร 2) เชิงปฏิบัติ เร่งรัดหน่วยงานที่มีอำนาจให้สามารถเข้าใช้พื้นที่ป่ากระถินเทพา จำนวน 30 ไร่ เพื่อพัฒนาทาตลาดแห่งใหม่ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ และ 3) สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาและพิจารณาด้านกฎหมายในการจัดการพื้นที่อื่นๆ นอกเหนือจากจุดผ่อนปรนช่องตาอู เช่น จุดผ่อนปรนช่องอานม้า อำเภอน้ายืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้จุดผ่อนปรนดังกล่าวพัฒนาไปสู่จุดผ่านแดนถาวรต่อไป

 

Legal Issues in the Management of Chong Ta Au Border Market by Phon Ngam Sub-district Administrative Organization, Buntharik District, Ubon Ratchathani Province

The objectives of this research were to study: 1) the management of Chong Ta Au Border Market by Phon Ngam Sub-district Administrative Organization in Buntharik District of Ubon Ratchathani Province, 2) laws relating to the market’s management, and 3) the development directives of this management. The study adopted qualitative methods, including documentary research, in-depth interviews, and field research, and data were subjected to descriptive and interpretative analysis. Results showed that Chong Ta Au Temporarily Permitted Area was part of a national park under the jurisdiction of Buntharik-Yodmon Wildlife Sanctuary, Protected Area Regional Office 9 Ubon Ratchathani Province, Department of National Parks, Wildlife and Plant Reservation, Ministry of National Resources and Environment. This meant that any developmental initiatives of the Phon Ngam Sub-district Administrative Organization in regard to Chong Ta Au Temporarily Permitted Area must comply with the multiple regulations of the Department of National Parks, Wildlife and Plant Reservation, especially “Regulation of Department of National Parks, Wildlife and Plant Reservation on Criteria, Methods and Conditions of Using National Parks for the Office Building or any other Purposes by Government Offices or Entities B.E.2507”. This regulation was promulgated under the auspices of Article 13 (Bi) of National Park Act B.E.2507. According to this regulation, only a government office or entity is entitled to apply to make use of land in a national park for an office building or any other similar purposes for public benefits, including building of a government office, school, road, and/or reservoir. Article 16 of the National Park Act B.E.2507 further stipulates that an application for building a Buddhist temple or any other purposes including the land management plan by Phon Ngam Sub-District Administrative Organization has to meet requirements provided by the aforementioned regulation. The study recommended that: 1) at the policy level, Chong Ta Au Temporarily Permitted Area should be upgraded to be a Permanent Border Crossing Point, 2) at the practical level, all the organizations with power should be encouraged to accelerate making use of Krathin Thepha Forest Area or, to be precise, turning the 30 rai forest area into a new market, and related agencies should financially support the market construction, 3) future research should study the possibility, especially in terms of legal issues, of developing other temporarily permitted areas such as Chong An Ma in Namyuen District of Ubon Ratchathani Province.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)