การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามวิถีชุมชนในสังคม วัฒนธรรมอีสาน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สอาด มุ่งสิน
จรูญศรี มีหนองหว้า

บทคัดย่อ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามวิถีชุมชนในสังคมวัฒนธรรมอีสาน เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะยืดชีวิตของผู้ป่วยให้อยู่ได้นานที่สุด โดยใช้ความเอื้ออาทรของคนในชุมชนเป็นกลไกหลักในการแสวงหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชุมชนตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ได้ค้นพบวิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในรูปแบบของ “พิธีกรรม” ที่หลากหลายทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ที่สามารถจำแนกตามช่วงเวลา ได้เป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะ “ตุ้มโฮม” 2) ระยะ “อยู่ก็สบาย” และ 3) ระยะ “ไปก็สงบ” ซึ่งแต่ละระยะก็จะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของวิธีปฏิบัติในแต่ละพิธีกรรมกับผลที่คาดหวังที่จะให้บังเกิดขึ้นต่อตัวผู้ป่วย นอกจากนี้ยังทาให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นถึง “ความหวัง” ของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน ที่พบว่าไม่มีวันที่จะสิ้นสุดจนกว่าจะหมดลมหายใจ แม้จะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าหมดหนทางที่จะรักษาให้หายขาดได้ ผลจากการเรียนรู้ในครั้งนี้จะนาไปสู่การเชื่อมประสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิทยาการสมัยใหม่กับแนวปฏิบัติที่มาจากความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน

 

End-of-life Patient Care in Isan Cultural Community: A Case Study in Phoyai Sub-district, Warinchamrab District, Ubon Rathchathani Province

End-of-life patient care in Isan reflects an attempt to extend patients’ lives. This care of people in the community is in accord with Isan‘s unique beliefs, traditions, and culture. This study of experiences of end-of-life care in Phoyai Sub-district, Warinchamrab District, Ubon Ratchathani Province identified three phases: 1) Tum home (re-union), 2) Yoo Koh Sa Bay (comfortable living), and 3) Pai Koh Sa-ngob (serenity in death). Each phase reflected the rituals associated with the expectations for end-of-life patients. They also exemplified the understanding of the hopes of the end-of-life patients, families, and communities that did not end until the last breath, despite doctors’ statements about no cures. These experiences lead to changes in the paradigms of the health profession in regard to holistic beliefs, rites, culture, hopes, and families’ and communities’ care for end-of-life patients.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)