การหันกลับมาศึกษาที่ดินกับชาวนาและพลวัตสังคมชนบทอีสานในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สุรสม กฤษณะจูฑะ
สมชัย ภัทรธนานันท์
ชยันต์ วรรธนะภูติ

บทคัดย่อ

ปัจจุบัน ที่ดินถูกพิจารณาว่า ไม่ได้เป็นหัวใจของการทำความเข้าใจสังคมชนบทอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม บทความนี้โต้แย้งว่า การทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างชาวนากับที่ดินใหม่ในบริบทโลกาภิวัตน์ จะช่วยทำให้เรามองเห็นพลวัตของสังคมชนบทและเข้าใจชาวนาในมิติที่หลากหลายภายใต้บริบทประวัติศาสตร์อันเฉพาะเจาะจง ด้านหนึ่ง การกลับมาศึกษาที่ดินทำให้เราเห็นว่าชาวนาได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐและทุนนิยมอย่างแนบแน่น แต่อีกด้านหนึ่ง ชาวนาในฐานะผู้กระทำก็มียุทธศาสตร์การดำรงชีพที่หลากหลาย การกลับมาพึ่งพาที่ดินได้สะท้อนให้เห็นพื้นที่ชนบทอีสานรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 คือ กระบวนการลดทอนความเป็นชาวนาและการกลับมาเป็นชาวนาส่งผลให้คนในชนบทมีปฏิกิริยาและการต่อต้านในรูปแบบที่ซับซ้อน การก้าวเข้ามามีบทบาทของเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการ และความแตกต่างในสังคมชนบทที่ถูกสร้างขึ้นในชนบทอีสาน

 

Re-studying Land and Peasantry: The Dynamics of Rural Society in the 21st Century

This research argued that a re-study of the relationship between peasants and land in a globalization context helps an understanding of the dynamics of rural society by locating peasants on multiple scales and in specific historical trajectories. Such a re-study shows that peasants engage closely with capitalism and state and, at the same time; as actors have various livelihood strategies. The return of land dependency clearly reflects the three emerging new rural spaces in the 21st century, the process of depeasantization and repeasantization that build a complex form of the reactions and resistances of rural people, the role of informal economy, and rural differentiation which has been established in rural Isan.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)