วิธีคิดท้องถิ่นกับการสร้างความเป็นพระโพธิสัตว์ชาวบ้าน ในประเพณีบุญหลวง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

Main Article Content

ปฐม หงส์สุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีคิดท้องถิ่นเกี่ยวกับการสร้างภาพตัวแทนความเป็นพระโพธิสัตว์ชาวบ้านในประเพณีบุญหลวงของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยมุ่งวิเคราะห์ตีความจากเนื้อหาและองค์ประกอบของพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องในงานบุญหลวง ผลการศึกษาพบว่า ชาวอำเภอด่านซ้ายได้ร่วมกันผลิตสร้างตัวตนของพระโพธิสัตว์แบบชาวบ้านขึ้นมาในกรอบประเพณีของท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งมีความซับซ้อนของระบบความเชื่อและศาสนา โดยวิธีการปรับเปลี่ยน หยิบยืม และเลื่อนสถานภาพของบุคคลศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในความเชื่อดั้งเดิมให้กลายมาเป็นสัญลักษณ์แทนพระเวสสันดรและพญาคันคากในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ตามเค้าเรื่องประวัติที่มาของประเพณีบุญหลวง กล่าวคือ จากภาพของเจ้าพ่อกวนที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของการนับถือผีบรรพบุรุษในชุมชนได้กลายมาเป็นเจ้าพ่อกวนที่มีบทบาทเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของการนับถือพระพุทธศาสนาผ่านการรับบทเป็นตัวแทนของพระเวสสันดรและพญาคันคากโพธิสัตว์ไปพร้อมๆ กัน อันแสดงให้เห็นการช่วงชิงการให้นิยามความหมายเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ตามวิธีคิดท้องถิ่นกับวิถีวัฒนธรรมกระแสหลัก การสร้างความเป็นพระโพธิสัตว์ชาวบ้านนั้นแสดงให้เห็นมิติของระบบความคิดความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ และโลกทัศน์ที่หลากหลาย ซับซ้อน เลื่อนไหล และไม่แน่นิ่งตายตัว ที่มีนัยยะของความหมายเชิงอำนาจ ทั้งในแง่ชนชั้น ศาสนา การเมือง เพศ และชาติพันธุ์ได้อย่างน่าสนใจ

 

Local Thinking and Constructing of the Folk Bodhisattva In Boon Luang Festival, Dan Sai District, Loei Province

This research explored local thinking and construction of the folk Bodhisattva in Boon Luang Festival, Dan Sai district, Loei province. It focused on the analysis of content and elements of rituals related to the festival. It was found that Dan Sai locals mainly personified the folk Bodhisattva via community traditions consisting of complex systems of belief and religion, and adapted, borrowed, and personified the status of a former sacred creature to replace Vessantara and King Toad, traditional Bodhisattva in the history of the festival. The process of personification was Guan, a sacred shaman, who was a soul leader of ancestor worship in the past. Recently, he was personified as a soul leader of Buddhism by taking over the roles of Vessantara and King Toad, an obvious differentiated definition between folk and mainstream Bodhisattva. Personification of folk Bodhisattva portrays various complex and dynamic dimensions of belief, value, ideology, and vision system. This can be implied as power in terms of hierarchy, religion, politics, gender, and ethnography.

Article Details

บท
บทความรับเชิญ (Invite Articles)