การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ติกาหลัง สุขกุล
ฒวีพร โตวนิช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ และเพื่อประเมินผลรูปแบบการประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี ที่สามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้น งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 หัวหน้าและเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จำนวน 2 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มผู้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จำนวน 17 คน ใช้การสัมมนากลุ่มนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มที่ 3 ได้แก่ นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรมประมวลผลวิเคราะห์ สถิติที่ใช้คือ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-40 ปี และมีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา ส่วนใหญ่มีรายได้ 15,001-30,000 บาท โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี กิจกรรม ยามว่างส่วนใหญ่ใช้เวลาด้วยการท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รองลงมา คือ เดินห้างสรรพสินค้าและเล่นอินเทอร์เน็ต ส่วนพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์มากกว่า 3 เดือน /ครั้ง ส่วนใหญ่เปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์คือแผ่นพับและสื่อบุคคล ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เข้าชมเพียง 1 ครั้ง นักท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ในเรื่องความ ร่มรื่นและความสะดวกสบายของลานจอดรถ ตามลำดับ การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ต้องมีการพัฒนา 3 ด้านคือ ด้านการวางแผนการประชาสัมพันธ์ วิธีและกิจกรรมในการประชาสัมพันธ์ สื่อประชาสัมพันธ์ ผลการประเมินค่าดัชนีความเหมาะสมของรูปแบบการประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อการท่องเที่ยว จากผู้เชี่ยวชาญ 19 คน เป็นอาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และนักประชาสัมพันธ์ เท่ากับ 0.88 อยู่ในระดับมีความเหมาะสมมากที่สุด

 

Development of a Public Relations Model for Tourism at Ban Kao National Museum, Kanchanaburi Province

This research used qualitative and quantitative methodology to investigate the development of a public relations model for Ban Kao National Museum, Kanchanaburi and evaluate the model’s ability to increase the number of tourists. Three groups of participants were involved in the study. Group 1 consisted of a leader and staff member of the museum using in-depth interviews and the qualitative data were analyzed using content analysis. Group 2 contained 17 individuals who analyzed data of the public relations model of the museum in a focus group. Group 3 consisted of 400 tourists. A questionnaire was used to collect data. Analysis of quantitative data was by averages, percentages, and standard deviations. The study found that most of the participants were female, aged between 21 and 40 years, had a bachelor degree, were students, earned between 15,001 and 30,000 baht per month, and lived in Kanchanaburi. Their major leisure activities were travelling, shopping, and surfing the internet. In terms of media exposure, it was found that the participants obtained news and information three times per month, mostly from brochures and personal media. They reported that they visited the museum once and most were pleased with the pleasant atmosphere and convenience of the car park. The study believed that the public relations model of the museum should be developed in three major ways, public relations planning, public relations methods, and public relations media. Evaluation of the model’s ability to increase the number of tourists was carried out by 19 specialists who worked in universities and public relations. The result of the index of the model was 0.88

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)