การพัฒนามโนมติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ โดยกลวิธีจำลอง-สังเกต-สะท้อนกลับ-อธิบาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในครั้งนี้คือเพื่อพัฒนามโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 50 คน ด้วยกลวิธีแบบจำลอง-สังเกต-สะท้อนกลับ-อธิบาย การวิจัยเกิดขึ้นในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบจำลอง-สังเกต-สะท้อนกลับ-อธิบาย และแบบทดสอบวัดมโนมติวิทยาศาสตร์ชนิดเลือกตอบพร้อมให้เหตุผลจำนวน 11 ข้อ คะแนนของนักเรียนจากการทดสอบถูกจัดตามระดับความเข้าใจเป็น มโนมติวิทยาศาสตร์ มโนมติคลาดเคลื่อน และมโนมติที่ผิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และร้อยละ กลวิธีแบบจำลอง-สังเกต-สะท้อนกลับ-อธิบายช่วยให้นักเรียนมีมโนมติวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนจากร้อยละ 19.84 เป็น 67.50 โดยมโนมติวิทยาศาสตร์เพิ่มสูงขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 1.43 เป็นร้อยละ 57.43 ในการสอบหลังเรียน ในขณะที่มโนมติคลาดเคลื่อนและมโนมติที่ผิดลดลงจากก่อนเรียนร้อยละ 44.86 และ 53.71 เป็นร้อยละ 34.57 และ 8.00 ในการสอบหลังเรียนตามลาดับ สำหรับมโนมติที่ผิดมากที่สุดคือการอธิบายโครงสร้างโมเลกุลโคเวเลนต์ AX3E คิดเป็นร้อยละ 22.00 เนื่องจากนักเรียนขาดความสามารถในการระบุค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของธาตุส่งผลต่อการทำนายรูปร่างโมเลกุลที่ไม่ถูกต้อง
Development of Grade 10 Students’ Science Concepts of Covalent Molecular Shapes through Model-Observe-Reflect-Explain (MORE)
The aim of this one-group pre-test/post-test research was to develop the science concepts of covalent molecular shapes of fifty grade ten students through the use of the Model-Observe-Reflect-Explain (MORE) approach. The study took place in the second semester of the 2014 academic year. The research instruments were MORE-based lesson plans and a two-tier diagnostic test containing 11 questions. The students’ scores from this test were used to classify their levels of understanding into scientific concepts (SC), alternative concepts (AC), and misconceptions (MC). Data were analyzed by means and percentages. The MORE-based approach greatly enhanced students’ science concepts from 19.84% in the pre-test to 67.50% in the post-test. The students’ SC improved from 1.43% in the pre-test to 57.43 % in the post-test whereas the AC and MC decreased from 44.86% and 53.71% in the pre-test to 34.57% and 8.00% in the post-test respectively. Students had misconceptions mostly about structure of molecules covalent AX3E (about 22.00%) due to the lack of ability to assign electronegativity values of elements leading to the incorrect prediction of molecular shapes.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว