การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 372 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนที่มีต่อเทศบาลตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับจังหวัดอุดรธานี มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ คำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีเทส แบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีของ เชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า
1. การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานีจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานีจำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน และรายด้านมีความแตกต่างกันในด้านสาธารณสุข และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำแนกตามอาชีพ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน และรายด้านมีความแตกต่างกัน ในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย การจัดระเบียบสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
Public Perception of the Performance of Muangpia Sub-district Municipality, Kudchap District, UdonThani Province
The purposes of this research were to study and compare the public’s perception of the performance of Muangpia Sub-district Municipality Kudchap District, Udon Thani Province based on the characteristics of gender, age, education, and occupation. The participants were 372 people who lived in tub-district area selected by stratified random sampling. The research instrument was a five-rating scale questionnaire with the reliability of 0.89. Data were analyzed by the use of frequencies, percentages, means, standard deviations, t-test, One-way ANOVA, and the Scheffe’s method for the difference comparison. Results indicated that public perception of the municipality’s performance based gender, age, education, and occupations was at a high level. Public perception did not differ based on different genders, education levels, and ages, there were no differences in regard to public health, natural resources, and the environment based on occupations, but different perceptions did exist in relation to maintenance of social order and security of life and property.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว