การร่วมกันจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การร่วมกันผลิตบริการสาธารณะเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะจัดการกับความท้าทายในการจัดการภาครัฐที่ต้องรับมือกับความต้องการของประชาชนที่หลากหลายภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากร แต่การให้ประชาชนในสังคมเมืองมาร่วมจัดบริการสาธารณะกับภาครัฐนั้นจำต้องมีแรงจูงใจให้ประชาชนมามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง การศึกษาครั้งนี้ ต้องการตอบคำถามว่า ประชาชนได้ประโยชน์อะไรจากการร่วมกันผลิตบริการสาธารณะ โดยเลือกศึกษาการจัดการขยะของเทศบาลนครอุบลราชธานีเป็นกรณีศึกษา
จากการสารวจเอกสาร การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งบุคลากรระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น และตัวแทนสมาชิกชุมชนที่ร่วมกันจัดการขยะกับเทศบาลนครอุบลราชธานี พบว่า ประโยชน์เชิงรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการร่วมกันจัดการขยะของเทศบาลนครอุบลราชธานีคือ ชุมชนที่ร่วมจัดการขยะมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีสวัสดิการเมื่อเสียชีวิต และมีเงินออมจากขยะ ขณะที่ผลประโยชน์เชิงคุณค่าที่เกิดขึ้นเฉพาะกับคณะกรรมการชุมชนที่เป็นแกนนำอันได้แก่ ความภาคภูมิใจในศักยภาพของตนเอง การพัฒนาความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และความเคารพซึ่งกันและกันในหมู่คณะกรรมการ
Co-production in Waste Management: A Case Study in Ubon Ratchathani Municipality
Co-production between public services is one of the most effective ways that limited government budgets and officials are able to respond to the increasingly diverse needs of people. People’s participation is vital for co-operation but it is no easy task to achieve this participation. This case study of waste management in Ubon Ratchathani used various research methods, including documentary surveys, non-participatory observation, and in-depth interviews of locals and government officials, to explore the motives and benefits that attract people to co-operate with public services. The research found that co-operation was driven by two factors. First, people were motivated by tangible benefits, including improvement of the environment in their communities, eligibility for funeral funds, and receipt of money for garbage. Second, people received intangible benefits, including the realization of potential and boosts to self-esteem, acquisition of knowledge of the environment, and development of mutual respect among local staff.Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว