ความสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัตน์กับค่านิยมพื้นฐานในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
โลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างรู้เท่าทัน การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของโลกาภิวัตน์ ทั้งด้านบวกและด้านลบของสังคมไทยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 3 จังหวัด และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัตน์กับค่านิยมพื้นฐานของสังคมไทยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 3 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือประชากรที่อาศัยอยู่ในสังคมเมืองและสังคมชนบทจากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ จำนวน 350 คน ระยะเวลาของการศึกษา 12 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ในเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ คือค่าความถี่ ร้อยละ และการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) โลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม (2) โลกาภิวัตน์ด้านเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับค่านิยมพื้นฐาน ด้านการประหยัดและอดออม ด้านการมีระเบียบวินัยและการเคารพกฎหมายและด้านความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในระดับปานกลางและในทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านการปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง โลกาภิวัตน์ด้านสังคมมีความสัมพันธ์กับค่านิยมพื้นฐาน ด้านการพึ่งพาตนเอง ด้านการมีระเบียบวินัยและด้านการคารพกฎหมาย การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนาและความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ในระดับปานกลางและทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับค่านิยมพื้นฐาน ด้านความรักชาติศาสน์ กษัตริย์ในระดับปานกลางและทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Relationships between Globalization and Basic Values of Thai Society
Globalization has affected economic, social, political, and cultural areas and self-adaptability to accommodate changes is needed. This research aimed to study the positive and negative effects of globalization in three provinces in North-Eastern Thailand and the relationship between globalization and Thai society-based core values in these provinces. The sample was 350 people living in urban and rural areas in Ubon Ratchathani, Sisaket, and Surin. Over a period of 12 months, descriptive questionnaires were employed to collect data and were analyzed by frequencies, percentages, and Pearson's correlation coefficient. The findings showed that globalization impacted on the economy, society, politics, and culture positively and negatively, and that it moderately affected and was in accord with the core values related to saving and economy, self-discipline and lawfulness, and patriotism. Following the principles of Dharma was highly related and in agreement with the core values in respect to self-reliance and self-discipline. Lawfulness, following Dharma principles, and patriotism were moderately related. The cultural aspect was moderately related to and in accord with the core values on patriotism at a statistically significant level of 0.05.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว