Using Literature Circles to Promote Reflective Writing Ability: A Perspective on the Co-operative Learning Approach

Main Article Content

Panida Monyanont

บทคัดย่อ

The study was a classroom-based research project aimed at the investigation of the effects of using literature circles on the reflective components of writing found in students’ assignments and exploration of students’ views of the benefits of this activity. A framework by Pasternak and Rigoni (2015) was used to evaluate students’ five reflective writings. It was found that across the five writing assignments, students’ descriptive reflection and analytical reflection increased over the course of the class. As for hypothetical and critical reflection, there was no clear evidence of improvement partially due to the difficulty of the reading texts, students’ background knowledge, and mini-lessons.


การใช้วงวรรณกรรมในการพัฒนาความสามารถในการเขียนสะท้อนคิด: มุมมองจากแนวทางการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน

งานวิจัยหัวข้อ “การใช้วงวรรณกรรมในการพัฒนาความสามารถในการเขียนสะท้อนคิด: มุมมองจากแนวทางการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน” เป็นงานวิจัยในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้วงวรรณกรรมในด้านองค์ประกอบของการเขียนสะท้อนคิดในชิ้นงานเขียนของผู้เรียน และศึกษามุมมองของผู้เรียนด้านประโยชน์จากกิจกรรมวงวรรณกรรม งานวิจัยนี้ใช้กรอบความคิดของ Pasternak and Rigoni (2015) ในการประเมินงานเขียนสะท้อนคิดของผู้เรียนแต่ละคนจำนวน 5 ชิ้น ผลปรากฏว่าระดับการเขียนพรรณนาสะท้อนคิด (Descriptive Reflection) และ การเขียนวิเคราะห์สะท้อนคิด (Analytical Reflection) เพิ่มขึ้นตลอดการเขียนทั้ง 5 ชิ้นงาน ส่วนการเขียนสมมุติฐานสะท้อนคิด (Hypothetical Reflection) และการเขียนวิพากษ์สะท้อนคิด (Critical Reflection) ไม่ปรากฏผลของการพัฒนาอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งมีผลมาจากระดับความยากของบทอ่าน ความรู้พื้นฐานของผู้เรียน และบทเรียนประกอบการใช้กิจกรรมวงวรรณกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)