การวิเคราะห์ทางวัจนลีลาศาสตร์คลังข้อมูลในชุดรหัสคดี เรียงตามลำดับอักษรของซู กราฟตัน

Main Article Content

เกรียงไกร วรรธนะเลาหะ

บทคัดย่อ

ชุดรหัสคดีเรียงตามลำดับอักษรของซู กราฟตัน (Sue Grafton) เป็นที่แพร่หลายในหมู่นักอ่านชาวอเมริกันเป็นเวลาหลายทศวรรษแต่การศึกษาในแง่ภาษาศาสตร์และวรรณคดียังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก การวิจัยนี้ต้องการศึกษาวัจนลีลาของผู้เขียนโดยกระบวนการทางภาษาศาสตร์คลังข้อมูลโดยประยุกต์ใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า WordSmith และ Wmatrix เพื่อทำการค้นหาโครงเรื่องและศึกษาความแตกต่างทางรูปแบบภาษาในตัวละครเพศชายและหญิงผ่านวงความหมาย (key semantic fields) และคำปรากฏร่วมชี้เฉพาะ (collocations) ผลของการวิจัยพบว่าโครงเรื่องของชุดรหัสคดีนั้นเน้นประเด็นเรื่องการติดต่อสื่อสารและการขนส่งเพื่อใช้ในการสร้างปมปริศนา ความตระหนก และการพัฒนาความเข้มข้นของเรื่อง นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของภาษาผ่านมุมมองผู้เล่าเรื่องในบริบทเพศชายและหญิงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเพศชายถูกมองว่าเป็นเพศที่ก้าวร้าวและหัวแข็งในขณะที่เพศหญิงนั้นมีภาษาล้อมรอบบริบทที่เกี่ยวข้องกับรูปลักษณ์ภายนอกและการเจรจา


Corpus Stylistic Analysis of Sue Grafton’s Alphabet Novels

For several decades, the alphabet mystery series by Sue Grafton has been renowned in the United States in terms of cultural values but not for its language and linguistics. This research aimed to study the literary style through the corpus linguistics methodology by using WordSmith and Wmatrix to represent the series’ plot and the posture of gender in language. Key semantic fields and collocations played a major role in the thorough analysis. The results suggested that literary plots of the series included communication and transportation as both subsequently contributed to the series’ suspense and plot development. Collocations were found to be different among genders. Through the narrator’s point of view, the males were represented as aggressive and obstinate characters, whereas the females were based on attractiveness and talkativeness.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)