การพรรณนาภาษาต้ง (กัม) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ต้ง หรือ กัม เป็นภาษาที่พูดโดยชนกลุ่มน้อยชาวต้งในประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน นักวิชาการจีนจัดภาษาต้งไว้ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาจ้วง-ต้ง แขนงต้ง-สุ่ย บทความนี้มุ่งนำเสนอข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของชนกลุ่มน้อยเผ่าต้งใน ประเทศจีน โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานของนักวิชาการจีน เนื้อหาของบทความ นำเสนอประเด็นสำคัญสามเรื่อง คือ 1. ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต้ง 2. การ พรรณนาทางภาษาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย (1) การจัดแบ่งตระกูลภาษา (2) ระบบเสียง (3) ระบบคำ (4) ระบบไวยากรณ์ (5) ภาษาถิ่น และ 3. ระบบการเขียนอักษรภาษาต้ง จาก การศึกษาพบว่า ภาษาต้งที่นักภาษาศาสตร์ต่างชาติศึกษากับมุมมองของนักวิชาการจีน ยังมีข้อแตกต่างกันหลายประการ เช่น การจัดแบ่งตระกูลภาษา ระบบเสียง ระบบคำและ ระบบไวยากรณ์ เนื่องจากนักภาษาศาสตร์จีนใช้วิธีที่เป็นแบบแผนทางภาษาศาสตร์จีนใน การวิเคราะห์ ที่ผ่านมานักวิชาการไทยมีโอกาสศึกษาข้อมูลภาษาต้งจากผลงานของ นักภาษาศาสตร์ตะวันตกและนักภาษาศาสตร์ไทย แต่ยังไม่มีข้อมูลที่เป็นข้อเขียนของ นักวิชาการจีนผู้ซึ่งใกล้ชิดกับชาวต้งมากทีสุด ในบทความนี้จึงจะได้นำเสนอเพื่อให้เป็น ข้อมูลสำหรับนักวิชาการชาวไทยได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
Description of Dong (Kam) Language in China
Dong [Kam1] is a language spoken by the Dong ethnic group in China. Chinese scholars have classified it into a Sino-Tibetan language family, Zhuang- Dong branch, Dong-Sui group. This article is a description of the linguistic style of Dong language and presents three main issues: 1. Dong ethnic information; 2. Dong language description which consists of (1) language category, (2) phonology, (3) word system, (4) grammar, and (5) dialect; and 3. Dong characters. Investigation revealed that there are different points of view on language descriptions among foreign and Chinese linguists. Previous Thai researchers mostly studied Dong language from foreign scholars’ research, not that of Chinese scholars living in the same country with Dong people. This article provides information about Dong language based on the work of Chinese scholars for Thai scholars who wish to conduct further research related to the topic in the future.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว