การประเมินคุณภาพด้านการบริการนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเปรียบเทียบและศึกษาความ สัมพันธ์คุณภาพด้านการบริการนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่อง เที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเภทวัด ได้แก่ วัดไชยมงคล วัดศรีอุบลรัตนาราม และวัดสุปัฏนารามวรวิหารในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 300 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบ t–Test และ ANOVA
ผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการในแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในระดับมากและเมื่อแยกพิจารณาแต่ละ ด้านพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการให้บริการในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากการเปรียบเทียบความคาดหวังของนักท่องเที่ยวถึงความพึงพอใจในการได้รับบริการในแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอาชีพ และระดับรายได้ที่แตกต่างกันมีความ พึงพอใจในคุณภาพการบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยส่วน บุคคลในด้านเพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการบริการไม่ แตกต่างกัน ส่วนความสัมพันธ์ของคุณภาพการบริการกับความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ
Assessment of the Quality of Services at Cultural Attractions in Muang Ubon Ratchathani District, Ubon Ratchathani Province
The purpose of this study was to evaluate the quality of services at cultural attractions in Muang Ubon Ratchathani. The participants were 300 tourists selected by accidental sampling who visited Wat Chai Mongkol temple, Wat Si Ubon Rattanaram temple, and Wat Supattanaram Worawihan temple in July 2012. Data were collected by questionnaires and analyzed by averages, standard deviations, t-tests, and ANOVA. Results showed the visitors’ satisfaction with the quality of services was at a high level and matched their expectations. Personal factors of career and different income levels affected satisfaction with the quality of services at a statistically significant level of 0.05. However, gender, age, and education level appeared to have no statistical correlation with satisfaction.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว