รูปแบบการสร้างเครือข่ายทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านสองแควพัฒนา เทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษารูปแบบการสร้างเครือข่ายทางสังคมของการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมและโฮมสเตย์ กลุ่มชาติพันธุ์ อาข่าบ้านสองแควพัฒนา ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ สังเกตและสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและชุมชน จำนวน 13 คน ผ่านการสังเกตแบบมีส่วนร่วมลงพื้นที่ภาคสนามและวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า การสร้างเครือข่ายทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและโอมสเตย์ บ้านสองแควพัฒนา ถูกสร้างผ่านความเชื่อและพิธีกรรมของชาติพันธุ์อาข่าแบบดั้งเดิมและถูกขับเคลื่อน โดยเทศบาล ตำบลแม่ยาว ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลแม่ยาว นอกจากนี้อดีตผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นอาสาสมัครได้ผลักดันโครงการดังกล่าว ร่วมกับภาครัฐให้เกิดขึ้น ส่งผลให้การสร้างเครือข่ายทางสังคมการท่องเที่ยววัฒนธรรมและโฮมสเตย์ ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านสอง แควพัฒนา เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2556 และเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้าน ในปี พ.ศ.2557 ภายใต้วิถีนำการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมการแสดง อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ความร่วมมือต่อกิจกรรม ในชุมชนของชาวบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนความเชื่อดั้งเดิมสู่การรับความเชื่อศาสนาคริสต์ เนื่องจากข้อจำกัดของกฎระเบียบสังคมอาข่า ไม่สอดคล้องต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในช่วงการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนา โดยการใช้ศาสนาเป็นหนทางปรับตัวสู่กระแสทุนนิยม แม้ว่าจะมีการละทิ้งกฎอาข่า แต่ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ถูกแทนที่ด้วยความสัมพันธ์แบบทางการ ด้วยมติจากวาระการประชุม เพื่อให้กิจกรรมในสังคมดำเนินต่อไป
Social Network Model of Cultural Tourism in Akha Ethnic Group Homestays in Songkhwaepattana Village, Maeyao Municipality, Chiangrai
This research aimed to study the social network model of cultural tourism in Akha ethnic group homestays in Songkhwaepattana village, Maeyao municipality, Chiang rai. It employed qualitative methodology invovling in-depth interviews, focus group interviews, participant observation, and documentary research to collect data from 13 key informants which were members of government agencies, the community, and stakeholders. Findings showed the local community’s social network linked with cultural tourism and homestays and incorporated the traditional way of life of the Akha community. This social network was supported by Maeyao Municipality’s cultural tourism project that started promotion of local ethnic communities and homestays in the district in 2013. Changes to Christianity by local people resulted in the cultural tourism project no longer being based on spiritual culture. This caused some confusion within the community and among tourists who received a different identity from the strong Akha identity of the past. This presented many challenges for foreign tourists, the Akha people, their leaders, and their relationships with the municipality.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว