เสียงจากห้องแล็บ: ประสบการณ์ทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

ปาณิภา สุขสม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทเชิงพื้นที่และการทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ภายในห้องปฏิบัติการ รวมถึงวิเคราะห์อิทธิพลของเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีต่อประสบการณ์ของพวกเขา บทความใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
ผ่านการเก็บข้อมูลเชิงเอกสารและการศึกษาภาคสนามแบบชาติพันธุ์วรรณาเชิงเทคโน (Techno-ethnography) สำรวจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่คัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา โดยมีแนวคิดเครือข่าย-ผู้กระทำ หรือ Actor-network theory (ANT) เป็นวิธีวิทยาหลักในการแกะรอยและศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นมนุษย์และสิ่งอื่นที่เข้ามาทำงานเพื่อร่วมประกอบสร้างบริบทและข้อเท็จจริง
ทางวิทยาศาสตร์ภายในห้องแล็บ ตลอดจนผลิตผลกระทบที่มีต่อประสบการณ์
การทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ 


ผลการศึกษาพบว่า บริบทเชิงพื้นที่ห้องแล็บถูกประกอบสร้างขึ้น
ผ่านการเชื่อมโยงกับกระบวนการทางสังคมด้านต่าง ๆ ที่มีต่อโรคโควิด-19 กิจกรรมที่เกิดในห้องแล็บสามารถสะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งมีลักษณะเชิงเทคนิค (socio-technical relation) การทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ที่ต้องใกล้ชิดกับเชื้อโรคทำให้เห็นว่าเชื้อโรคมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์และเป็นมากกว่าตัวก่อโรคระบาด เพราะสามารถส่งผลกระทบต่ออัตวิสัยของพวกเขาทั้งในแง่อารมณ์ความรู้สึก รวมถึงชีวิตทางสังคมในแง่มุมต่าง ๆ บทความจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบริบทการทำงาน และเสนอแนวทางการฝึกฝนนักเทคนิคการแพทย์ให้รับมือกับเชื้อโรค โดยให้ความสำคัญต่อการบูรณาการองค์ความรู้
ในลักษณะข้ามศาสตร์และบทบาทของสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์มากขึ้น เพราะจะช่วยเปิดมุมมองพวกเขาให้เข้าใจบริบทการทำงานที่ยึดโยงอยู่กับบริบทเชิงสังคมวัฒนธรรม และมองเห็นชีวิตทางสังคมของเชื้อโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดและวิถีชีวิต สิ่งเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อรับมือและปฏิบัติตัวอยู่ร่วมกับเชื้อโรคได้ดีขึ้นเมื่อมีสถานการณ์โรคระบาดใหม่ ๆ รวมถึงยังนำมาปรับใช้ในการพัฒนาแนวนโยบายด้านสุขภาพและการป้องกันโรคในอนาคตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Bagcchi, S. (2020, July 20). Stigma during the COVID-19 pandemic. www.thelancet.com/infection.

Bhanot, D., Singh, T., Verma, S, K. & Sharad, S. (2021). Stigma and Discrimination During COVID-19 Pandemic. Frontiers in Public Health, 8, 1-11. https://doi.org/10.3389/fpubh.2020.577018

Department of Medical Sciences. (2020a). Diagnostic manual Coronavirus disease 2019 (COVID-19) in laboratory. https://www3.dmsc. moph.go.th/post-view/700 (in Thai)

Department of Medical Sciences. (2020b). Guidelines for establishing a laboratory for testing for COVID-19. http://dmsic.moph.go.th/ index/detail/8134 (in Thai)

Doing, P. (2004). ‘Lab Hands’ and the ‘Scarlet O’: Epistemic Politics and (Scientific) Labor. Social Studies of Science, 34(3), 299-323.

Knorr, C. K. (1995). "7 Laboratory Studies: The Cultural Approach to the Study of Science". In Jasanoff, E., Markle, C., Peterson, T. P. (eds.). Handbook of Science and Technology Studies. (pp.140-167). http://dx.doi.org/10.4135/9781412990127.d12

Latour, B. (2011). Network theory : networks, societies, spheres: Reflections of an actor-network theorist. International journal of communication, 5, 796–810.

Latour, B. & Woolgar, S. (1986). Laboratory life : The construction of scientific facts. Princeton, N.J.: Princeton University Press.

Laocharoenwon, J. (2022). Spaces between Control and Care: Field Hospitals during the Covid-19 Crisis in Thailand. Humanities and Social Science Journal Ubon Ratchathani University, 13(2), 1-34.

Singh, R. & Subedi, M. (2020). COVID-19 and stigma: Social discrimination towards frontline healthcare providers and COVID-19 recovered patients in Nepal. Asian Journal of Psychiatry, 53, 1-2.

Sangkhamanee, J. (2021). Anthropology on the Waves of Science, Technology and the Digital World. In Jungsathiensap, K., Duangwiset, N., & Kenmee A. (eds.). Anthropology Journey. pp.279-97. Bangkok : Sirindhorn Anthropology Center.

Sismondo, S. (2010). An introduction to science and technology studies (2nd ed.). Malden, MA Wiley-Blackwell.

The medical technological council. (2004). Medical Technological Professions Act, BE 2547. http://www.mtc.or.th/download_doc/ law2547.pdf (in Thai)

Uthayamkul, S., Santisuklarpphon, B. & Likanonsakul,S. (2020). Laboratory Practice Guidelines for Tests from Suspected COVID-19 Patients. https://drive.google.com/file/d/DtVcwTSvmjiJTyaiRkjyxF4 jLM5U/view?usp=sharing (in Thai)

Waicharoen, S., Akkapaiboon, O. P., Saeng-aroon, S., Buayai, K., Kala, S., Changsom, D., Chairad, K., Boonmuang, R., Mekha, N., Chittaganpitch, M. & Uppapong, B. (2020). Laboratory Performance on SARS-CoV-2 Detection by real-time PCR. The Bulletin of the Department of Medical Sciences, 62(3), 243-51. (In Thai).

Wolinsky, H. 2020. When SARS-CoV-2 comes knocking on your lab door. EMBO Reports. 21:e50946, 1-4. https://doi.org/10.15252/ embr.202050946