รูปแบบการละเมิดและแนวทางป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์วรรณกรรมไทย

Main Article Content

นิธิกานต์ พิณเมืองงาม
นพรุจ ศักดิ์ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการละเมิดลิขสิทธิ์วรรณกรรมไทยในปัจจุบันและนำเสนอแนวทางการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์วรรณกรรมไทย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงกับการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการละเมิดลิขสิทธิ์วรรณกรรมไทยในปัจจุบันต่างจากอดีตเพราะการพัฒนาเทคโนโลยี พบรูปแบบการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงมากที่สุดโดยดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ละครเวที ละคร หนังสือเสียง เกิดขึ้นพร้อมกับการเผยแพร่สู่สาธารณชน แนวโน้มในอนาคตจะมีการพัฒนาวิธีละเมิดจากช่องว่างทางกฎหมายแสดงว่าผู้กระทำผิดรู้ว่าผิดกฎหมายแต่ไม่เกรงกลัว แนวทางการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ควรแก้ไขกฎหมายให้เป็นคดีอาญาที่ไม่สามารถยอมความได้ บังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด เจ้าของงานวรรณกรรมไทยจดแจ้งลิขสิทธิ์เป็นหลักฐานเพื่อมีอำนาจในการดำเนินคดี ทั้งนี้รัฐบาลควรกำหนดนโยบายสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน ให้ความสำคัญต่องานวรรณกรรมไทยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการป้องกันครบทุกมิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Bangkokbiznews. (2018, March 06). Rom Phaeng will file a complaint against Who shared post Buppesanniwat book. Bangkokbiznews. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/794714. (in Thai)

Department of Intellectual Property. (2015). Introduction to Intellectual Property. https://www.ipthailand.go.th/images/633/book/basic_ IP.pdf. (in Thai)

Department of Intellectual Property. (2020). Copyrights Act B.E. 2565. https://www.ipthailand.go.th/th/ dip-law-2/item/act_cr65.html. (in Thai)

Hemarajata, C. (2019). Characteristics of Intellectual Property Laws. Edition 12th Bangkok: Nitithum Publishing. (in Thai)

Mallikamas, K. (1976). Current Thai literary work. Bangkok: Ramkhamhaeng University Publishing. (in Thai)

Khunsong, T. (2019). Intellectual Property Rights in Education: A Comparative Case Study between Thailand and the United States. Proceedings National Academic Conference Humanities and Social Sciences 2st 2019 (pp.1118-1125). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. http://hs.ssru.ac.th/useruploads /files/20190306/ dc7e132c7a6f29 38d219da0320d3852fcd468 8af.pdf. (in Thai)

Khruakham, S. (2015). Crime, criminology and criminal justice. Nakhon Pathom: Petchkasemkanphim . (in Thai)

Phromchod, S. (2019). Copyright protection under the Copyright Act (No. 2) B.E. 2558 (2015) and the Copyright Act (No. 3) B.E. 2558. Journal of Julniti, 12(5), 168-178. http://web.senate.go.th/ lawdatacenterincludes/FCKeditor/ upload/ Image/b/k124%20jun _12_5.pdf. (in Thai)

Rahma Fitriasih, Sri Rahayu Hijrah HATI and Adrian Achyar. (2019). Book Piracy Behavior among College Students in Indonesia. Journal of e-Learning and Higher Education, Vol. 2019 (pp.1-11.)

Roitheang, C. (2006). Legal Measures in the proceedings of copyright cases. ML (Law), Dhurakij Pundit University. (in Thai)

Stampberry. (2021, June 7). Facebook Fanpage Stampberry. https://www.facebook.com/lovestampberry/posts/4389005504464748. (in Thai)