“สาวผู้ไทหนุ่มเมืองเว”: ‘การสร้างสรรค์วามงาม’ ‘การบริโภค’ และ ‘ตัวตน’ ของวัยรุ่นชาติพันธุ์ผู้ไทในภาคอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้ศึกษาวัฒนธรรมวัยรุ่นในบริบทชาติพันธุ์ผู้ไทในภาคอีสาน โดยชี้ให้เห็นว่าการก่อร่างสร้าง ‘ตัวตน’ ของวัยรุ่นในสังคมชาติพันธุ์ผู้ไทเรณูนครในบริบทปัจจุบันเป็นผลให้พวกเขามีความผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมสมัยนิยมและบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น ในแง่นี้ ‘ตัวตน’ ของพวกเขาจึงไม่ได้เป็นภาพวัยรุ่นเชิงเดี่ยวในระนาบความสัมพันธ์คู่ตรงข้าม ดังเช่นการเป็นวัยรุ่น ‘ไทบ้านอีสาน’
ที่ถูกสร้างเป็นภาพเหมารวมในแนวเดียวกันทั้งหมด กับการเป็น ‘วัยรุ่นในเมือง’
ที่มักถูกให้ภาพว่าเป็นผู้ที่สามารถนิยมการบริโภคและการมีรสนิยมสมัยใหม่ วัยรุ่น
ผู้ไทเรณูนครที่เติบโตภายใต้เงื่อนไขของบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่นในสังคมชาวผู้ไทที่พยายามยกชูมิติ ‘ความงาม’ ให้เป็นอัตลักษณ์ประจำชาติพันธุ์ นำไปสู่การเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวชาวผู้ไทรุ่นใหม่รู้จักการใส่ใจกับ ‘ความสวยความงาม’ ของใบหน้าและเรือนร่าง รสนิยม และวิถีชีวิตของพวกเขาจึงสอดรับกับการบริโภคสมัยใหม่ที่เกี่ยวโยงอยู่กับการนิยมความงาม การแต่งกาย และการบริโภคสินค้า แบรนด์เนม นอกจากนี้ ผลพวงจากการใส่ใจกับ ‘ความงาม’ ในแบบดังกล่าวยังนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพวกเขา หนุ่มสาวผู้ไทเรณูหลายคนใช้ต้นทุนความสวยความงามทำมาหากินผ่านการเป็น และวีเจ (VJ) ในแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Baudrillard, Jean. (1999). The Consumer Society: Myths & Structures. London:SAGE publication.
Chaiyakhunt, S. (2013). Phu-Tai Lug Tan. Bangkok:Heart Health. (in Thai)
Cornell, Stephen and Hartmann, Douglas. (1998). Ethnicity and Race: Making Identities in a Changing World.Thousand Oaks, California: Pine Forge Press.
Cohen, A. (2010). Northern Thai Youth and “Subcultural Capital” in Chiang Mai City. Journal of Social Sciences, 22(1). p. 55-85. (in Thai)
Daily Manager. “loss of Renu Girl Love Story”. Daily Manager (17-18 February 1988): p. 12. (in Thai)
Damrong Rajanubhab. (1923). A variety of Travel section 4: A story of Monton NakhonRatchasima, Udon and Roi Et. Bangkok: oponphipanthanakon. (in Thai)
Kaesonrat, T. (1969). Phu-Tai History. Bangkok: N.p. (in Thai)
Kitiarsa, P. (2003). Pop(ular) People: Self of Thai People in Popular Culture. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. (in Thai)
Laungaramsi, P. (2010). Youth Culture. Journal of Social Sciences, 22(1). p. 25-52. (in Thai)
Varshney, A. (2007). Ethnicity and Ethnic Conflict. In Boix, C. and Stokes, S. (eds.), The Oxford Handbook of Comparative Politics (p. 274-294), Oxford: Oxford University Press.
Yuenyao, S. (2017). Isan Construction on the Film: A case Study of ‘Thai Ban The Series’. Wiwitwannasan Journal, 1(2). p. 77-98. (in Thai)
Wachanasara, K. (2003). CenterPoint with “Preteen”: Construction of Preteen Culture. In Pattana Kitiarsa (eds.), Anthropology with Nostalgia Study in Contemporary Thai Society. p. 183-222. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. (in Thai)