ปัญหาทางกฎหมายในการทำงานล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

Main Article Content

ตรีเนตร สาระพงษ์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการทำงานล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จากการศึกษาพบว่า 1) มีปัญหาการบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่เต็มใจ หรือมีการบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยมิได้มีการทำข้อตกลงกับลูกจ้างก่อนแต่นายจ้างใช้อำนาจการต่อรองที่เหนือกว่าบังคับให้ทำงานหากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกกลั่นแกล้ง 2) ปัญหาการใส่ข้อความสละข้อเรียกร้องไม่เรียกค่าล่วงเวลาในหนังสือเลิกจ้างซึ่งนายจ้างใช้วิธีการเขียนในหนังสือเลิกจ้างให้ลูกจ้างลงชื่อแล้วอ้างเป็นหนังสือยอมสละข้อเรียกร้อง 3) ปัญหาการเหมาจ่ายค่าล่วงเวลา การให้หยุดงานแทนการจ่ายเงินค่าล่วงเวลาซึ่งขัดกับกฎหมายเพราะกฎหมายให้จ่ายเป็นเงิน 4) ปัญหาการมอบหมายงานที่มากเกินกว่าที่จะทำสำเร็จ ซึ่งทำให้ลูกจ้างต้องทำงานต่อจนงานเสร็จโดยนายจ้างไม่ต้องขอความยินยอมและจ่ายค่าล่วงเวลา 5) ปัญหาการบังคับให้มีการเปิดกล้องซึ่งถือว่าเป็นการกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในความเป็นส่วนตัว 6) ปัญหาการสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยผ่านการสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยกฎหมายไทยไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปิด หรือตัดขาดการสื่อสารจากนายจ้าง 7) ปัญหากฎหมายไม่ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจัดเวลาพักในช่วงการทำงานล่วงเวลา ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองเรื่องเวลาพักในช่วงการทำงานล่วงเวลา 8) กรณีทำงานเป็นกะคร่อมวันมิได้มีการนับช่วงโมงแรกของการทำงานเป็นชั่วโมงแรกของวันทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับค่าล่วงเวลา 9) การคำนวณค่าล่วงเวลาจะต้องใช้ค่าจ้างเป็นฐาน ก็มีปัญหาการกระจายฐานของค่าจ้างให้ไปจ่ายในรูปของเงินอื่นที่ไม่ใช่ค่าจ้างทำลูกจ้างได้รับค่าล่วงเวลาน้อยกว่าที่ควร 10) การเปลี่ยนสภาพการจ้างในช่วงสถานการณ์โรคระบาดก็มีปัญหาการตีความกฎหมายว่าค่าจ้างจะคิดจากอัตราที่ลดลงแล้วหรือไม่ ซึ่งโดยหลักต้องยึดหลักว่าเมื่อเป็นการลดค่าจ้างเพราะโรคระบาด เมื่อเงื่อนไขหมดไปค่าจ้างก็ควรยึดตามอัตราปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)