การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวของกลุ่มโรงสีข้าวชุมชน โดยตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวของกลุ่มโรงสีข้าวชุมชน ตำบลหมื่นไวย จังหวัดนครราชสีมา และ 2) เพื่อออกแบบตราสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวของกลุ่มโรงสีข้าวชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีแบบสัมภาษณ์กลุ่มโรงสีข้าวชุมชน จำนวน 6 ราย แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาแล้วของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกกลุ่มโรงสีข้าวชุมชน ผู้บริโภค และบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย รวมจำนวน 108 ราย ติดตามการดำเนินงาน และเวทีเสวนากลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่กลุ่มโรงสีข้าวใช้อยู่ไม่น่าสนใจ และยังไม่มีตราสินค้า กลุ่มจึงต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นที่น่าสนใจแก่ผู้บริโภค และมีตราสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่ม ผลการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พบว่า กลุ่มโรงสีข้าวเลือกใช้ถุงสูญญากาศ โดยมีฉลากติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าใช้รูปโบสถ์ 300 ปี ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชุมชนมาเป็นสัญลักษณ์ตามความต้องการของกลุ่ม ผลการประเมินความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก บรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจ ดึงดูดใจผู้บริโภคให้ซื้อมากขึ้น ซึ่งผลตอบรับในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาสูงกว่าของบรรจุภัณฑ์เดิม รวมทั้งกลุ่มโรงสีข้าวได้เกิดการเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์อันนำไปสู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มโรงสีข้าวชุมชนมีปัญหาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ข้าวที่ไม่น่าสนใจและไม่มีตราสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่ม ทางกลุ่มมีความต้องการบรรจุภัณฑ์เป็นถุงพลาสติกชนิดหนาที่มีโบสถ์ 300 ปี ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชุมชนมาเป็นตราสินค้าบนถุง ผลการประเมินต้นทุนในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว พบว่ามีต้นทุนค่อนข้างสูง ทางกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนจึงจัดตัดสินใจเลือกทำฉลากและตราสินค้าแทน เนื่องจากมีความเหมาะสมกับบริบทและข้อจำกัดด้านงบประมาณในการดำเนินงานของกลุ่มมากกว่า ในระหว่างการออกแบบฉลากและตราสินค้า สมาชิกของกลุ่มโรงสีฯได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและคัดเลือกรูปแบบฉลากและตราสินค้าตามที่กลุ่มต้องการ โดยตราสินค้า ฉลาก และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ทดลองที่ปรับปรุงแล้วนำมาประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการประเมินพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจภาพรวมต่อฉลาก ตราสินค้า และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ทดลองอยู่ในระดับมาก งานวิจัยนี้ทำให้กลุ่มโรงสีข้าวชุมชนเกิดการเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์อันนำไปสู่ความสามารถทางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Ampansirirat, A. & Wongchaiya, P. (2017). The participatory action research: key features and application in community. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 36(6), 192-202. (in Thai)
Apiprachyasakul, K. (2014). Goods and packaging. Bangkok: Focus Media and Publishing. (in Thai)
Charoennat, S. (2011). Study and development of Lanna identity graphic for packaging of Lanna product. The Fine & Applied Arts Journal, 6(1), 105-130. (in Thai)
Cheewaree, N. (2012). Research and development of packaging product processing pork for promotion marketing: A case packaging product process In district Nakhonpathom [Master’s thesis, Srinakharinwirot University]. (in Thai)
Chuenjit, D. (2015). Brand perception, brand attitude and buying decision behavior on alcohol beverage of Singha beer of consumer in bangkok [Master’s thesis, National Institute of Development Administration]. (in Thai)
Jaimun, R., Chootragoon, P. & Saksopin, P. (2016). Design and development sets of packaging for Nara Thai Dessert brand. 12th Naresuan Research Conference (pp.1833-1845). Naresuan University. (in Thai)
Jumpatin, T., Kuhasawanvet, S. & Mankeb, P. (2014). Participatory action research on herbal packaging development of product champion at Suan Sriya sufficiency economy learning center, Hintang sub-district, Muang district, Nakorn Nayok province. King Mongkut's Agricultural Journal, 32(2), 9-18. (in Thai)
Khampan, O., Kiti, C. & Jaraunsksawas, V. (2017). Packaging design for the SPA products of NAREEYA brand. 13th Naresuan Research Conference (pp.1863-1878). Naresuan University. (in Thai)
Kline, R.B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. 3rd ed. New York : Guilford press.
Kongcharoenkiat, P. (2004). Gathering of packaging articles (2001-2004). Bangkok: Packmate. (in Thai)
Narongwit, P. et al. (2018). Development of rice badges and packaging by Ban Thung Han Tra, Kamphaeng Phet. 5th National Conference (pp. 837-848). Kamphaengphet Rajabhat University. (in Thai)
Ourairat, N. (2016). Study and design development of rice packaging “Jekchuy Saohai Saraburi”. Dhurakij Pundit University. (in Thai)
Panasampon, S. & Leelasuwat, S. (2011). Developing packaging of agricultural products for tourism in Nakhon Pathom. Academic Conference (pp. 336-341). Khon Kaen University. (in Thai)
Payim, T. (2017). Development of product and packaging label for Kao -Taen (rice cracker) of the agro-group of agricultural Mae Wong Nakhon Sawan province. Art and Architecture Journal Naresuan University, 8(2), 38-46. (in Thai)
Pitak, J. (2012). Participatory action research to develop A community learning process on adolescent sexuality [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. (in Thai)
Pradit, K. (2018). The packaging development of Homkradung-nga rice affecting the commercial response of Bor-Khor’s housewife’s group in Takbai district, Narathiwat province. Princess of Naradhiwas University Journal, 10(2), 127-139. (in Thai)
Praputthanisarn, S. (2009). Participatory action research concepts and practice. 4th edition. Chiang Mai: Wanida Printing. (in Thai)
Premanupan, W. (2004). Label and packaging design of agricultural processed products by housewife’s group and occupational promotion group of Samut Prakan province. Rajamangala University of Technology Krungthep. (in Thai)
Shivsharan U.S., Raut E.S. & Shaikh Z.M. (2014). Packaging of cosmetics: A review. Journal of Pharmaceutical and Scientific Innovation, 3(4), 287-293.
Singh, R.K. (2018). The effect of packing on consumer perception. International Journal for Innovative Research in Multidisciplinary Flied, 4(5), 340-346.
Soiraya, B. et al. (2011). The development of green packaging from banana fiber for instant food products [Master’s Thesis, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon]. (in Thai)
Srihirun, J. (2018). Satisfaction towards graphic design on cosmetics packaging: Case study of Wadee-Orn Herbal group, T. Rangnok, A. Sam Ngam, Phichit. Art and Architecture Journal, 9(1), 55-69. (in Thai)
Theerathammakorn, S. (2000). Producttion and marketing in plastic packaging industry. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Tinnabutr, P. Suksawas, T. & Somnuktan, A. (2016). Branding and packaging design development for connecting to cultural tourism of herbal spa and wellness products of community enterprise group of Chainat province. Art and Architecture Journal, 7(1), 84-94. (in Thai)
Treesuriyasangchot, N., Sindhuphak, A. & Saributr U. (2018). Study factors pacage design for ABHAIBHUBEJHR’S skin herbal soap. Art and Architecture Journal, 9(1), 177-194. (in Thai)
Vyas, H. & Bhuvanesh V. (2015). Packaging design elements and users perception: A context in fashion branding and communication. Journal of Applied Packaging Research, 7(2), 95-107.