ภาพสะท้อนความเหงา: การสร้างตราบาปแก่ศิลปินชายขอบในสังคมปิตาธิปไตยผ่านบันทึกความทรงจำของ Olivia Laing ใน Lonely City
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาสาเหตุของความเหงาที่เกิดขึ้นกับศิลปินหญิงและศิลปินเกย์ในช่วงก่อนกระแสแนวคิดหลังสมัยใหม่ ผ่านการวิเคราะห์ตัวบทวรรณกรรมแนวบันทึกความทรงจำ เรื่อง Lonely City ของ Olivia Laing ที่ตีพิมพ์ใน ปี ค.ศ. 2016 บทความนี้เสนอว่าความเหงาแท้จริงนั้นไม่ได้เกิดจากปัญหาที่มาจากปัจเจกบุคคลเองหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน แต่แท้จริงแล้วเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบปิตาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวคิดทวิสภาวะที่ฝังรากลงไปในจารีตทางสังคม และในความเป็นสถาบัน ทั้งนี้ความรู้สึกเหงาของศิลปินหญิงและศิลปินเกย์นั้นเกิดจากการถูกกีดกันในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและถูกทำให้แปลกแยกทั้งในพื้นที่ครอบครัวและพื้นที่สาธารณะ แต่อย่างไรก็ดี ตัวผู้เขียนบทความได้เล็งเห็นว่าแม้ความเหงาและความรู้สึกแปลกแยกของศิลปินเหล่านี้เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่การที่ศิลปินเหล่านี้ใช้กลไกของอารมณ์ด้านลบมาเป็นแรงขับในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะและวัฒนธรรมนั้นสามารถเยียวยาความเหงาของตัวปัจเจกเอง อีกทั้งยังขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการยอมรับความหลากหลายของเพศสภาวะ ทั้งในมิติทางด้านโครงสร้างและการเมือง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว