ภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ของซอยนานาเหนือและซอยเอกมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ของซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) กับซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) และเพื่อศึกษาความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมที่สะท้อนจากการศึกษาภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ของซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) และซอยสุขุมวิท 23 (เอกมัย) วิธีการศึกษา ได้แก่ ถ่ายภาพป้ายในซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) และซอยสุขุมวิท 23 (เอกมัย) ซอยละ 100 ป้าย รวม 200 ป้าย จากนั้นน าข้อมูล ที่ได้มาวิเคราะห์โดยประยุกต์ใช้แนวคิดด้านภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ของ Landry and Bourhis (1997) ผลการศึกษาพบว่า ป้ายมี 4 รูปแบบ ได้แก่ ป้ายแบบ 1 ภาษา ป้ายแบบ 2 ภาษา ป้ายแบบ 3 ภาษา และ ป้ายแบบ 5 ภาษา โดยป้ายที่มีเพียงภาษาอังกฤษภาษาเดียวมีจ านวนมากที่สุดทั้งในซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) จ านวน 41 ป้าย และซอยสุขุมวิท 23 (เอกมัย) จ านวน 50 ป้ายโดยที่ป้ายแบบ 5 ภาษาพบเพียง 1 ป้ายเท่านั้นในซอยสุขุมวิท 23 (เอกมัย) ด้านขนาดและความเด่นชัดของตัวอักษรพบว่า ตัวอักษรภาษาอังกฤษมักมีขนาดใหญ่และเด่นชัดมากที่สุดทั้งในซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) และซอยสุขุมวิท 23 (เอกมัย) ส่วนการศึกษาจ าแนกป้ายแบ่งตามประเภทธุรกิจและบริการพบว่า ป้ายร้านอาหารพบมากที่สุดทั้งในซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) และซอยสุขุมวิท 23 (เอกมัย) รองลงมา ได้แก่ ป้ายโรงแรม ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมพบประเด็นเด่นที่สะท้อนจากการศึกษาภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นด้านการเลียนแบบรูปแบบอักษรของภาษาหนึ่งให้คล้ายกับอีกภาษาหนึ่ง ประเด็นด้านสัตว์เลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและประเด็นด้านการถ่ายถอดตัวอักษรค าที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านความหลากหลายทางภาษาและพหุวัฒนธรรม
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว