การถูกคุกคามความเป็นส่วนตัวผ่านทางสื่อสังคัมออนไลน์ : เมื่อความเป็นส่วนตัวกลายเป็นสาธารณะในนวนิยายของ เดฟ เอกเกอร์ส เดอะเซอร์เคิล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์วิธีการคุกคามความเป็นส่วนตัวของบริษัทเดอะเซอร์เคิล ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความล้ำสมัยทางเทคโนโลยี แต่งโดยเดฟ เอกเกอร์ โดยการพยายามล้างสมองให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสาธารณะ การวิเคราะห์ครั้งนี้นำกระบวนความคิดในเรื่องสังคมที่ไม่พึงปรารถนาและลัทธิเผด็จการ รวมทั้งแนวคิดจิตวิทยาเรื่องทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ของอับราฮัม มาสโล มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เห็นถึงวิธีการคุกคามได้ชัดเจนยิ่งขึ้น บริษัทได้ใช้แนวความคิดและวิธีทั้งหมดห้าอย่างด้วยกันที่จะสามารถเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ 1.ใช้ความสะดวกสบายในการขโมยความเป็นส่วนตัว 2.มีตัวตนผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อทำให้ไม่พลาดการติดต่อสื่อสาร 3.ความลับคืออาชญากรรมต่อสาธารณชน 4.แบ่งปันข้อมูลส่วนตัวเพื่อแสดงความโอบอ้อมอารีและความอุทิศตนต่อสาธารณะ 5.ความโปร่งใสนำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ด้วยกลวิธีดังกล่าวทำให้พวกเขาไม่ได้ตระหนักว่าบริษัทคุมคามความเป็นส่วนตัว
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว