แนวทางการปรับใช้ทุนวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชนบ้านวังหอน ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ขวัญเรือน บุญกอบแก้ว

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนทางวัฒนธรรมบ้านวังหอน ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 2)เพื่อศึกษาแนวทางการปรับใช้เพื่อพัฒนาชุมชนบ้านวังหอน  ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสัมภาษณ์  แบบสังเกต การสนทนากลุ่ม และการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 30 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า  ชุมชนบ้านวังหอนมีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงธรรมชาติเป็นสังคมแบบเครือญาติ จนกระทั่งหลัง พ.ศ.2500 ป่าต้นน้ำเริ่มถูกทำลายมากขึ้น สวนป่าและนาข้าวถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสวนยางพารา  ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจากสังคมแลกเปลี่ยนเป็นสังคมทุนนิยมที่มุ่งเน้นรายได้เป็นหลักแบบสังคมสมัยใหม่ในปัจจุบัน จากสังคมดั้งเดิมที่พึ่งพิงธรรมชาติทำให้ชาวบ้านชุมชนบ้านวังหอนได้สั่งสมทุนทางวัฒนธรรมไว้มากมาย โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ทวดน้ำเวียน ทวดน้ำทะลุเขา ทวดเขารังต้อ ปู่เจ้าสมิงพลาย คนธรรพ์ เป็นต้น ทางพระพุทธศาสนาชาวบ้านนับถือ หลวงพ่อแสง ธม.มสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดวังหอมพุทธาราม เปรียบเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งของชุมชน นอกจากนี้มีทุนทางด้านวัฒนธรรมอื่นๆ อีกหลายประการ ได้แก่ ทุนด้านประเพณีและพิธีกรรม  ทุนด้านการทำมาหากิน  ทุนด้านธรรมชาติ  ทุนด้านหัตถกรรม ทุนด้านการแพทย์แผนไทยและทุนด้านโบราณวัตถุ  สิ่งเหล่านี้เป็นทุนที่สามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนบ้านวังหอนทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  การใช้วัฒนธรรมชุมชนมาสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เช่น การใช้ภาษาถิ่น การลงแขก การเคารพผีปู่ตา การจัดการแหล่งน้ำผ่านระบบเหมืองฝาย ประเพณีสืบชะตาป่าและลุ่มน้ำ หรือการนำเศรษฐกิจชุมชนจากการใช้ความรู้ภูมิปัญญา


ท้องถิ่นและการพัฒนาประเพณีวันทุเรียนหล่นให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนหรือการส่งเสริมให้ชุมชนทำสวน
สมรม  สวนแบบผสมผสานเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนบนฐานของทุนทางวัฒนธรรมและการรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนให้เป็นสังคมแห่งความพอเพียงต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)