ตะกั่วป่าเมืองเก่าที่มีชีวิต: การนำสถาปัตยกรรมโบราณ และกิจกรรมรื้อฟื้นเมืองน่าอยู่ มาประกอบสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นพัฒนาสู่การท่องเที่ยวแบบโหยหาอดีต
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำสถาปัตยกรรมโบราณ และกิจกรรมรื้อฟื้นเมืองน่าอยู่มาประกอบสร้างเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสู่การท่องเที่ยวแบบย้อนยุคใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคิดหลักคือแนวคิดอัตลักษณ์และแนวคิดโหยหาอดีตรวมทั้งแนวคิดเสริมคือแนวคิดการสร้างภาพแทนและแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 คน ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลในทางประวัติศาสตร์ กลุ่มผู้จัดโครงการสนับสนุนเกี่ยวกับการท่องเที่ยว คณะกรรมการชุมชน และกลุ่มนักท่องเที่ยว และสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการที่จัดขึ้นในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ ถอดรหัส ตีความและสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ท้องถิ่นในอดีตได้ถูกพัฒนาเพื่อยกระดับเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการนำสถาปัตยกรรมในยุคของเหมืองแร่ ทั้งตึกแถวโบราณแบบชิโนโปรตุกีส อาคารโรงเรียนเต้าหมิง กำแพงเมือง จวนเจ้าเมือง บ้านขุนอินทร์ ศาลเจ้าจีน หม้อสตรีมไอน้ำถูกนำมาประกอบสร้างอัตลักษณ์ผ่านเรื่องเล่าเพื่อให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมรื้อฟื้นเมืองน่าอยู่ผ่านความทรงจำร่วมทางสังคมโดยการเปิดพื้นที่ “ตลาดเก่า” เพื่อฉายภาพแทนวิถีชีวิตผู้คนในอดีตถ่ายรูปร่วมกับภาพวาดบนผนัง (Street Art) กิจกรรมเปิดประตูเมืองตะโกลา กิจกรรมของชมรมบะบ๋าเกี่ยวกับการแต่งกาย ประเพณี พิธีกรรม และอาหาร ถูกประกอบสร้างให้เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสู่การท่องเที่ยวแบบย้อนยุค
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว