แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

จิตติกา ชัยภักดี
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากรอบสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 320 คน และ การสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


          สมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มี 16 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม ความสามารถในการปรับตัว จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทักษะทางด้านภาษาและเทคโนโลยี การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ การบริหารจัดการห้องเรียน การพัฒนาผู้เรียน การวัดและประเมินผล การวิจัยในชั้นเรียน นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดการความรู้ การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ภาวะผู้นำ และจิตวิทยาการให้คำปรึกษา


          สมรรถนะตามกรอบสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูที่แสดงออกสูงสุดในปัจจุบัน ได้แก่ สมรรถนะด้านจิตวิทยาและการให้คำปรึกษา รองลงมา 3 ลำดับแรก ประกอบด้วย ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านภาวะผู้นำ และ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ โดยสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด


          สมรรถนะตามกรอบสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูที่พึงประสงค์สูงสุด ได้แก่ สมรรถนะด้านความสามารถในการปรับตัว รองลงมา 3 ลำดับแรกประกอบด้วย ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ ด้านทักษะทางด้านภาษาและเทคโนโลยี และ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน โดยสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด


          แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมควรมีการนิเทศเพื่อให้ครูได้ความตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน สร้างบรรยากาศในการทำงาน ที่ดี สนับสนุนการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนมีการแสวงหาความรู้ที่เกี่ยวกับวิชาชีพใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มสาระสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและความแตกต่างของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)