อำนาจในสังคมหลังชาวนา: มองผ่านพิธีกรรม งานบุญผะเหวดของคนอีสาน

Main Article Content

ประจวบ จันทร์หมื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ของผู้คนในกลุ่มสังคมหลัง
ชาวนา โดยการมองปฏิบัติการของพวกเขาผ่านมิติทางเศรษฐกิจ
สังคมวัฒนธรรมและการเมืองผู้เขียนศึกษางานบุญประเพณีในหมู่บ้านชาวนาอีสานแห่งหนึ่ง
โดยเก็บข้อมูลจากการสำรวจและสัมภาษณ์รายครัวเรือนจำนวน
85 ครัวเรือนเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์เชิงอำนาจในงานบุญประเพณีข
องคนชนบทโดยมีคำถามสำคัญว่าอำนาจในพิธีกรรมงานบุญประเพณีของสัง
คมหลังชาวนามีลักษณะอย่างไร
มีนัยต่อการทำความเข้าใจความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างไร
ผลการศึกษาพบว่า
พิธีกรรมในงานบุญประเพณีของคนชนบทปัจจุบันจำนวนหนึ่งถูก
ทำให้เป็นพื้นที่การแสดงละคร
ไม่ได้มีความศักดิ์สิทธิ์แบบเดิมดังอดีต
มีการจัดวางผู้คนเข้าไปเป็นผู้แสดงในพิธีกรรมทั้งแบบสมัครใจแ
ละให้ค่าแรง
ผู้คนที่เข้าร่วมต่างมีความปรารถนาถึงรายได้ที่จะได้รับ
ปรารถนาถึงความสุข ปรารถนาถึงการยอมรับและให้เกียรติ
รวมถึงปรารถนาถึงคะแนนเสียงเลือกตั้งในอนาคต
การจัดงานบุญประเพณีในปัจจุบันจึงไม่ได้มีความหมายเพียงการ
บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่หมายถึงการมีเครือข่ายทางเศรษฐกิจและการ
เมืองด้วย
ที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะสำคัญของอำนาจในพิธีกรรมของสังคมห
ลังชาวนาที่ซ่อนเร้นอยู่ในชุมชน
ผ่านการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจ
สังคมและการเมืองในสังคมชาวนาปัจจุบัน
ที่มีนัยต่อการทำความเข้าใจความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดขึ้นในสั
งคมไทยปัจจุบัน
ว่าชาวนาในชนบทต้องการที่จะเข้าไปมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
หากโครงสร้างอำนาจรัฐยังไม่เปิดกว้างให้พวกเขาเข้าไปมีส่วนร่
วมอย่างแท้จริงความขัดแย้งในสังคมไทยก็จะยังคงอยู่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)