การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเยาวชนเเละครอบครัวกรณีที่เด็กเเละเยาวชนกระทำความผิดอาญาร้ายเเรงตามกฎหมายของประเทศไทย

Main Article Content

อัจฉรียา ชูตินันทน์

บทคัดย่อ

การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีในศาลเยาวชนและครอบครัวต้องยึดเอาเด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงหลักผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 97 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ที่ให้อำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวโอนคดีเด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาญาร้ายแรงไปพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา พบว่ายังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอน อันมีผลเป็นการกระทบสิทธิของเด็กและเยาวชนโดยตรง และเป็นการมุ่งลงโทษเด็กและเยาวชนมากกว่าการแก้ไขฟื้นฟูซึ่งทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดีและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และพบว่าในทางปฏิบัติยังไม่ปรากฏว่าศาลเยาวชนและครอบครัวมีการนำมาตรา 97วรรคสองมาบังคับใช้แต่อย่างใด


ดังนั้น เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และเหมาะสม ตลอดจนสอดคล้องกับเป้าหมายของการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนได้อย่างแท้จริง ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 97 วรรคสอง และใช้เครื่องมือในการดำเนินการกับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดอาญาร้ายแรงตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 142 หมวดที่ 12 ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนโทษและการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทน ย่อมทำให้เด็กและเยาวชนไม่มีตราบาปเป็นอาชญากรติดตัวและสามารถกลับมาใช้ชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดีของสังคมได้ใหม่ในวันข้างหน้า อันเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ตลอดจนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย



คำสำคัญ
:  การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเยาวชนและครอบครัว และหลักผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic articles)