การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2

Main Article Content

สุวภัทร ศรีจองแสง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง โครงการวิจัยการยกระดับคุณค่าและมูลค่าของทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจและรวบรวมทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (2) ศึกษาศักยภาพทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ที่เอื้อต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ และ (3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ งานวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 พบว่า (1) ศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ควรพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชนเช่น ป้ายบอกเส้นทางเข้าถึง ห้องน้ำ เครื่องมือสื่อความหมาย เป็นต้น กิจกรรมการท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์ท้องถิ่น (2) ด้านศักยภาพการรองรับด้านการท่องเที่ยว ควรพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้อนรับนักท่องเที่ยว และศักยภาพด้านการสร้างเครือข่ายทางการท่องเที่ยว และ (3) ศักยภาพด้านการบริหารจัดการ มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกและการตระหนักรู้ของคนในชุมชนและเยาวชน และควรมีการจัดตั้งกลุ่มในการบริการจัดการท่องเที่ยวให้เกิดความชัดเจน การพัฒนาชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ มีแนวทางในการพัฒนาดังนี้ (1) การค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน (2) การสร้างความแตกต่าง (3) การสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ (4) การส่งเสริมการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

กิติยา พฤกษากิจ. 2561. แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษา ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศรีประทุม ปีที่ 10(1): 246-257.
ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. 2559. รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 9(1): 250-268.
ภัสร์ศศิร์ หีดจันทร์. ม.ป.ป. กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดร้อยเอ็ด. ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: สำนักงานฯ.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. 2556. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสาหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 33(2): 331-366.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
___________. 2555. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 -2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. 2559. คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร. 2552. “เศรษฐกิจสร้างสรรค์”. กรุงเทพธุรกิจ. วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2552.