ภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวในวรรณคดีลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนได้เรียบเรียงและวิเคราะห์จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารวรรณคดีลาวโดยคัดเลือกวรรณคดีที่มีความโดดเด่นของตัวนางในวรรณคดี ซึ่งผู้เขียนได้แบ่งประเภทของการศึกษาภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวในวรรณคดีลาวออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) ภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวในวรรณคดีนิยาย 2) ภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวตามโฉลก และ 3) ภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวในตาม ฮีตคลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวในรูปแบบของคตินิยมในวรรณคดีลาว ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจภูมิหลังของแนวความคิดเรื่องงามของผู้หญิงลาวในอดีตได้ชัดเจนขึ้น ผ่านกรอบแนวคิดเรื่องความงาม (Beauty Concept) และแนวคิดเรื่องภาพตัวแทน (Representation) โดยพบว่า ภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวในวรรณคดีนิยายมีลักษณะเป็นความงามในอุดมคติ ที่ผู้หญิงงามต้องมีผิวพรรณที่ขาวผุดผ่อง ดังเปรียบเทียบว่า “ผุดผ่องดังทองคำ” มีผมดำ คอกลม คิ้วโก่ง แขนเรียว เอวบาง ส่วนภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวตามโฉลกนั้นเป็นความงามมีลักษณะผูกโยงกับนิสัยและความเป็นผู้ดี แต่สำหรับภาพลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวตามฮีตคลองกลับมีลักษณะมุ่งเน้นความงามภายในจิตใจ ที่ควรยึดถือปฏิบัติสำหรับการครองตนและการครองเรือน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการและหอสมุดแห่งชาติ. 1969. ลัดสีโสมสอนลูกหญิง. เวียงจัน : หอสมุดแห่งชาติ.
กระทรวงศึกษาธิการและหอสมุดแห่งชาติ. 1970. ขุนลูนางอั้ว. เวียงจัน : หอสมุดแห่งชาติ.
กระทรวงศึกษาธิการและหอสมุดแห่งชาติ. 1970. นางอรพิม. เวียงจัน : หอสมุดแห่งชาติ.
กิแดง พอนกะเสิมสุก. 2006. วัฒนธรรมลาวเกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามรีด 12 คอง 14. เวียงจัน : พิดสะวิง.
จันทิมา ปัทมธรรมกุล. 2550. วิเคราะห์การสร้างวาทกรรมความงามของโฆษณาผลิตภัณฑ์บำรุงผิว. กรุงเทพฯ : ปริญญานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จันลา ดวงมาลา. 2011. ยอดคำสอนบูรานลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. เวียงจัน : แสงสุวัน
ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. 2545 “ชุมชนในวาทกรรมการพัฒนา: การสร้างและให้ความหมายชุมชนภายใต้บริบทการพัฒนาในสังคมไทย” รูสมิแล 23, 2-3 (พ.ค.-ธ.ค.) :
8-18.
พิชัย ศรีภูไฟ. 2532. สตรีในวรรณกรรมอีสาน. มหาสารคาม : ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลำพอง คัญทะลีวัน. 2551. ภาพตัวแทนผู้หญิงในนิตยสารของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ช่วงปี ค.ศ. 2002 – 2007. เชียงใหม่ : ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิรุณ ตั้งเจริญ. 2546. สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สันติศิริการพิมพ์.
สำนักงานวรรณคดี. 2508. หนังสือคัมภีร์โลกนิติ. บางกอก : โรงพิมพ์เลียงเชียงจงเจริญ
หอสมุดแห่งชาติ. 2011. พื้นนางแตงอ่อน. พิมพ์ครั้งที่ 3. เวียงจัน. แสงสุวิน.
อุ่นใจ เจียมบูรณะกูล. 2547. วาทกรรม ความสวย อัตลักษณ์วัฒนธรรมการบริโภค. เชียงใหม่ : ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Anatole-Roger PELTIER (อานาโต โรเช เปนเจ). 1995. นางผมหอม. เชียงใหม่ : มิ่งเมืองนวรัฐ.
Freedman, Rita. 1986. Beauty Bound. Lexington, MA : Lexington.
Hall, Stuart. 1997. Representation: Culture Representations and Signifying Practices. (ed.) London : Sage.
Tseëlon, Efrat. 1995. The Masque of Femininity : The Presentation of Woman in Everyday Life. London : Sage.
Woodward, Kathryn. 1997. Identity and Difference. London : Sage Publication.