การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ การจัดกิจกรรมพิเศษของศาลเจ้ากะทู้ในเทศกาลถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

วัชรา บูรณะสุบรรณ

บทคัดย่อ

                    การศึกษาวิจัยเรื่องการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมของศาลเจ้ากะทู้ในเทศกาลถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดกิจกรรมพิเศษของศาลเจ้ากะทู้ 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมพิเศษของศาลเจ้ากะทู้ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ศาลเจ้ากะทู้พบว่ามีกระบวนการจัดกิจกรรมพิเศษดังนี้ 1.1) แนวคิดการจัดกิจกรรมพิเศษมีแนวคิดเรื่องความดั้งเดิม แนวคิดความเชื่อในเทพเจ้าและแนวคิดเรื่องบุญกุศล 1.2) วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานประเพณี ถือศีลกินผักของศาลเจ้ากะทู้และเพื่อสร้างความสามัคคี 1.3) เป้าหมายการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อการมีบทบาทเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมและเพื่อการมีบทบาทในการจัดงานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดมีการประเมินผลในการจัดกิจกรรมพิเศษทั้งแบบไม่เป็นทางการและแบบเป็นทางการ และในส่วนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมพิเศษพบว่ามีการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ดังต่อไปนี้คือ 2.1) สื่อสารเชิงกลยุทธ์ในการสร้างความสามัคคี 2.2) สื่อสารเชิงกลยุทธ์ในกิจกรรมย่อย 2.3) สื่อสารเชิงกลยุทธ์ในการสรรหาทรัพยากรมนุษย์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

เจริญชัย ไชยกูลวงศ์สันติ. 2552. อิทธิพลของสื่อโฆษณาที่มีต่อทัศนคติและ การตัดสินใจเช่าบูชาพระเครื่องของพุทธศาสนิกชนที่นิยมพระเครื่อง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนะ ปานแก้ว. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนาวุฒิ โรจนโรวรรณ. 2553. การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทรับจัดทำกิจกรรมพิเศษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัดดาว ชัยรัต. 2552. การสื่อสารผ่านกิจกรรมพิเศษของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทุม ฤกษ์กลาง. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ปาริชาต พุดน้อย. 2557. ความคิดเห็นของครูภาษาไทยเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะพงษ์ ทับทิมทอง. 2554. ประเพณีกินเจของชาวภูเก็ต: กรณีศึกษาศาลเจ้า จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยะพงษ์ อิงไธสง. 2550. ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการจัดกิจกรรมพิเศษของตราสินค้าโดฟ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผ่องพรรณ ฟักทอง. 2549. อิทธิพลของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่เกษตรดอยอ่างขาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พรทิพย์ ปัญญาวิเศษพงศ์. 2553. กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม: การจัดงานเทศกาลศิลปะและการละเล่นพื้นบ้านไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุทธนา วรุณปิติกุล. 2541. พิธีกรรมกินเจในสังคมชาวจีนภาคใต้ : กรณีชาวจีน ใน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิทยา ด่านธำรงกูล. 2548. การตลาดเชิงกิจกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัต ลภิรัตนกุล. 2546. การประชาสัมพันธ์ = Public relations. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี วงศ์มณฑา. 2540. การประชาสัมพันธ์เชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: A.N. การพิมพ์.

เสรี วงศ์มณฑา. 2541. การส่งเสริมการขาย = Sales Promotion. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

เสรี วงศ์มณฑา. 2546. หลักการโฆษณา = Principles of advertising. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

อภิรดี ศรีจินดา. 2548. กิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์ของบริษัทยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ยูบีซี) กรณีศึกษา โครงการ Academy Fantasia. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Kotler, P. 1997. Marketing management: Analysis, planning, implementation and control (8th ed.). Englewood Cliffs: Prenticc-hall.