การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) ขององค์การภาครัฐไทย: การศึกษาผลกระทบต่อประสิทธิภาพ และความพึงพอใจในงาน
คำสำคัญ:
การทำงานแบบผสมผสาน, องค์การภาครัฐ, ความพร้อม , ความพึงพอใจในงาน, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของการทำงานแบบผสมผสานขององค์การภาครัฐไทย และผลของการทำงานแบบผสมผสานมีผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากร และมีผลต่อประสิทธิภาพขององค์การ ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยกำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมพัฒนาที่ดิน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรณีศึกษา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานทั้งสองรวมทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมอีกด้วย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัยและการสังเคราะห์ข้ามกรณีศึกษาผลการศึกษาพบว่า 1) การเตรียมความพร้อมของการทำงานแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 1.1) ผู้นำองค์การ 1.2) การปรับเปลี่ยนองค์การ 1.3) บุคลากรในทักษะการทำงาน 1.4) อุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัล และ 1.5) สถานที่ทำงาน 2) การทำงานแบบผสมผสานมีผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากร และ 3) การทำงานแบบผสมผสาน ทำให้ประหยัดงบประมาณ และเกิดความคุ้มค่าในทุกภารกิจ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพขององค์การ
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานยุคหลังโควิด-19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(3), หน้า 163-176.
ธนาคารไทยพาณิชย์. (2564). ทำไมการทำงานแบบ Hybrid คือคำตอบในยุค Next Normal. สืบค้นจาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/salary-man/hybrid-working.html
ปรานต์ สุวรรณทัต. (2564). Google ประกาศแนวทางการทำงานแบบ “ไฮบริด” เข้าออฟฟิศ 3 วัน เลือก ทำงานจากที่ไหนก็ได้. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/google-hybrid-work/
วลัยพร รัตนเศรษฐ และสมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. (2564). บทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), หน้า 71-87.
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง. หน้า 1
มนัสนันท์ ศรีนาคาร, และพิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2553). การทำงานทางไกลและที่บ้าน Telework and Work at Home. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 6(1), หน้า 109-118.
ยุทธนา เมธาวรันธร และเสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2566). กรอบแนวความคิดปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานระยะไกลของพนักงานบริษัทช่วงการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 7(1), หน้า 187-204.
อภิชล ทองมั่ง กำเนิดว้ำ และสุรสิทธิ์ ระวังวงศ์. (2563). การทำงานที่บ้าน: แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(3), หน้า 119-130.
Boeri, T., Caiumi, A. & Paccagnalla, M. (2020). Mitigating the work-safety trade-off. Covid economics: Vetted and real-time papers, 2(8.4), pp. 60–66.
CO Desk Workplace. (2563). ไขข้อสงสัย! Hybrid Working คืออะไร? สรุปครบ จบในที่เดียว. สืบค้นจาก https://www.codeskworkplace.com/what-is-hybrid-working/
Lugtu Jr., R. (2021). Work-from-home-are workers truly productive?. Retrieved from https://www.manilatimes.net/2021/05/27/business/top-business/work-from-home-are-workers-truly-productive/1800805
Kaliski, B.S. (2007). Encyclopedia of business and finance. (2nd ed., Vols. 2). Detroit, MI.: Thompson Gale.
Scarpello, V., & Campbell, J.P. (1983). Job satisfaction: Are all the parts there?. Personnel Psychology. 36(3), 577-600. Retrieved from http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1744-6570.1983.tb02236.x/abstract
Turcotte, M. (2010). Working at home: an update. Canadian social trends. 91, pp. 3-11.
Microsoft. (2021). The Next Great Disruption Is Hybrid Work - Are We Ready?. Retrieves form https://www.microsoft.com/en-us/worklab/work-trend-index/hybrid-work
Yasenov, V.I. (2020). Who can work from home?. Retrieved from https://docs.iza.org/dp13197.pdf
Yin, R.K. (2015). Qualitative research from start to finish. (2nd ed.). New York: Guilford Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)