Home ThaiJo
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นวารสารวิชาการ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ได้ใช้เป็นช่องทางการเผยแพร่ความรู้และผลงานวิจัย สาขาวิชาสังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และพัฒนาศักยภาพ ทางวิชาการและส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในด้านวิชาการและงานวิจัยของบุคลากรทั้งภายในและ ภายนอกของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้จึงได้กําหนดแนวทางปฏิบัติและจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ และงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการตีพิมพ์นานาชาติ โดยปรับปรุงจาก Committee on Publication Ethics https://www.publicationethics.org/files/2008%20Code%20of%20Conduct.pdf โดย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre)
ดังนั้น วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีได้กําหนดบทบาท หน้าที่ของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการและผู้ทรุงคุณวุฒิประเมินบทความไว้ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์จะต้องนําเสนอบทความที่ไม่เคยได้รับการพิมพ์ หรือไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งตีพิมพ์อื่น หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
2. ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมปรับแก้ต้นฉบับตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและกองบรรณาธิการ
3. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
4. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนําผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตนเอง
5. ผู้นิพนธ์ต้องทําตามรูปแบบและอ้างอิงที่วารสารได้กําหนดไว้ทุกประการ
6. เนื้อหาในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรอง คัดเลือกบทความตามรูปแบบการตีพิมพ์ของวารสารและตรวจสอบบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหา การใช้ภาษา การอ้างอิง รวมทั้งการรวบรวมบทความก่อนส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่สรุปผลการประเมินข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ เพื่อส่งให้ผู้นิพนธ์แก้ไข
3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบทความ หลังจากผู้นิพนธ์ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ หากผู้นิพนธ์ไม่ได้แก้ไขตามผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินบทความ กองบรรณาธิการมีสิทธิยกเลิกบทความของผู้นิพนธ์ได้ทันที
4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลง หรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์
5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ปกปิดข้อมูลผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
6. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พัฒนาคุณภาพวารสารให้มีความทันสมัย เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น
7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ 8. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคํานึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง
3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง
4. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากทางวิชาการ
5. หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
6. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์
จริยธรรมในมนุษย์ (Ethics)
บทความวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ จะต้องได้รับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร โดยผู้นิพนธืต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์พร้อมไฟล์บทความ เพื่อประกอบการพิจารณารับบทความ (มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป)