เทศกาลหยวนเซียว (โคมไฟ)
คำสำคัญ:
เทศกาลหยวนเซียว, ประเทศจีน, ประเทศไทยบทคัดย่อ
“元宵节” คนไทยรู้จักกันทั่วไปว่า “เทศกาลง่วนเซียว” หรือ “เทศกาลโคมไฟ” เป็นเทศกาลที่มีความสำคัญอีกเทศกาลหนึ่งของชาวจีน หลังจากผ่านพ้นวันตรุษจีนไปแล้ว จะมองเห็นพระจันทร์เต็มดวงครั้งแรกของปีตามปฏิทินจันทรคติ เป็นสัญลักษณ์ว่าการเฉลิมฉลองวันปีใหม่ได้สิ้นสุดลง ในวันนี้ชาวจีนจะรับประทานขนมบัวลอย เพราะเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว หลังจากนั้น ทุกคนจะออกมาชมการประดับโคมไฟตามท้องถนนและสถานที่ต่าง ๆ ประเทศไทยมีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อถึงเทศกาลสำคัญของจีน พวกเขาจะร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง เทศกาลหยวนเซียวเช่นนั้น ทุกปีย่านเยาวราชและชุมชนชาวจีนในทุกจังหวัดทั่วไทย จะจัดงานเทศกาลหยวนเซียวอย่างยิ่งใหญ่ ยึดถือปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมของจีน มีเพียงกิจกรรมหรือการละเล่นที่จัดขึ้นภายในงานซึ่งจะแตกต่างกันออกไป เพื่อปรับให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ศึกษาประวัติความเป็นมาการจัดงานเฉลิมฉลองและกิจกรรมต่าง ๆ ในเทศกาลหยวนเซียวของจีนและการจัดงานเทศกาลหยวนเซียวในประเทศไทย วัฒนธรรมของเทศกาลหยวนเซียวที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย รวมทั้งแสดงถึงความแตกต่างการจัดงานเทศกาลหยวนเซียวในประเทศจีนและประเทศไทย เพื่อรู้และเข้าใจความสำคัญของเทศกาลหยวนเซียว ตลอดจนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เรียนภาษาจีน ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมจีนมากยิ่งขึ้น
References
โชติช่วง นาดอน. (2545). วิถีแห่งเต๋า ชีวิตและผลงานของกวีเต๋า เถายวนหมิง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ขุนเขา.
โชติช่วง นาดอน. (2562, มกราคม 25). เทศกาลหยวนเซียว (ง่วนเซียว). สยามรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/62567
ถาวร สิกขโกศล. (2557). เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้. กรุงเทพฯ: มติชน.
นิภาพร รัชตพัฒนกุล. (2546). ตลาดน้อย : พัฒนาการชุมชน เจ๊ก ในบางกอก. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 24(4), หน้า 162-165.
ไพบูลย์ ณะบุตรจอม. (2562, มกราคม 20). จัดยิ่งใหญ่ "เทศกาลโคมไฟง่วนเซียว" สองแคว ประดับทั่วเมืองหมื่นดวง. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/north/1474706
วัชรพล พุทธรักษา. (2559). ว่าด้วยลักธิมาร์ก (Marxism). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), หน้า 1.
สุธินันท์ คงสินธ์. (2562, กุมภาพันธ์ 2). มูลนิธิธรรมกตัญญู เปิดเทศกาลโคมไฟเฟสติวัล 2019 ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน. 77 ข่าวเด็ด. สืบค้นจาก https://www.77kaoded.com/content/304036
อมรา พงศาพิชญ์. (2534). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิญญา นนท์นาท. “ขนมเต่า” ในเทศกาลหยวนเซียว ที่ศาลเจ้าโจวซือกงตลาดน้อย. สืบค้นจาก http://lekprapai.org/home/view.php?id=5250
อรรนพ เพ็ชรภิมล. (2562, กุมภาพันธ์ 6). เทศกาลโคมไฟสว่างไสว-ภูเก็ตจัดสืบทอดวัฒนธรรม. ข่าวสด. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/travel/news_2177666
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)