ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการสอนภาษาอังกฤษ ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จิรดา เอื้อศิริวัฒนะชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร, ภาษาอังกฤษ, ประเทศไทย, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงจัดเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม ความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งนับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2557 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหลากหลายวิธีด้วยกัน นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การจัดการเรียนการสอนภาษาในห้องเรียนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching: CLT) แต่ทว่า ยังเป็นที่น่าสงสัยว่าการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารนี้ เป็นวิธีที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยหรือไม่ เนื่องจากคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในปีการศึกษา 2561 ยังคงไม่เป็นที่น่าพอใจดังเช่นปีที่ผ่าน ๆ มา ดังนั้น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารในประเทศไทย จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า การสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารในประเทศไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในเรื่องของตัวครูผู้สอน ผู้เรียน และระบบบริหารจัดการ นอกจากนี้ บทความฉบับนี้ได้เสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้แนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (พ.ศ.2549 - 2553). สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/web_studyenglish/p_eng_2549-2553

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. สืบค้นจาก http://www.reo1.moe.go.th/strategy3/

เชษฐา ทองยิ่ง. (2559). ปัญหาครู: ปัญหาที่รอการปฏิรูป. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2559/hi2559-091.pdf

นวพร ชลารักษ์. (2559). สภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูไทยระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลําพูน เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), หน้า 130-141.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562ก). สถิติ O-NET ย้อนหลัง. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562ข). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. สืบค้นจาก http://www. Newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2561.pdf

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน. (2558). กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู. สืบค้นจาก https://qlf-production.s3.amazonaws.com/uploads/project/file_th/1418085736-รายงานการวิจัยกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระะทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู.pdf

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2558). ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2557 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. สืบค้นจาก http://bet.obec.go.th/index/wp-content/uploads/2016/08/O-NET57.pdf

สุภกร บัวสาย. (2557). เปิดตารางชีวิตครูไทย: ปัจจัยที่ครูต้อง ‘หาย’ จากห้องเรียน. สืบค้นจาก http://apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-18122557-020340-S1f58x.pdf

Breen, M.P., & Candlin C.N. (1980). The essentials of a communicative curriculum in language teaching. Applied Linguistics, 1(2), pp. 89-112.

Canale, M. (1983). From communicative competence to communicative language pedagogy. In Richards J.C. & Schmidt, R.W. (Eds.). Language and Communication (pp. 2-27). London: Longman.

Canale, M., & Swain, M. (1980). Theoretical bases of communicative approaches to second language teaching and testing. Applied Linguistics, 1(1), pp. 1-47.

Chuenjit Inprasit. (2016). Thai native teachers’ experiences of using Communicative Language Teaching in extended education schools. Published master’s Thesis in Teaching English as a Foreign Language, Language Institute, Thammasat University.

Sayumpoo Khunbankong & Jirapa Abhakorn. (2016). Teachers’ and students’ attitudes and perceptions on the applicability of CLT in the Thai classroom context. Journal of Humanities, Naresuan University, 13(3), pp. 35-52.

Kwon, Y. (2017). A study of Thai teachers’ perceptions toward the implementation of Communicative Language Teaching of English. HRD Journal, 8(1), pp. 114-125.

Natthawut Promtara & Kasma Suwannarak. (2018). Thai students and teachers’ perceptions of learning and teaching English through the Communicative Language Teaching approach. NIDA Journal of Language and Communication, 23(33), pp. 23-42.

Richards, J.C., & Rodgers, T.S. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching. (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Krashen, S.D. (1982). Principles and practice in second language acquisition. Retrieved from http://www.sdkrashen.com/content/books/principles_and_practice.pdf

Nannapat Wanchai. (2015). Difficulties encountered in implementing a communicative curriculum: EFL teachers’ perspectives. Retrieved from https://www.culi.chula.ac.th/research/Journal/2012/Final%20RA%20Difficulties%20Encountered%20in%20Implementing%20a%20Communicative%20Curriculum.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020