การสร้างค่านิยมตามหลักสังคมนิยมในเยาวชนจีน: กรณีศึกษาแบบเรียนวิชา กิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้า

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงษ์ ประพันธมิตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การกล่อมเกลา, ค่านิยมตามหลักสังคมนิยม, แบบเรียน, กิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้า

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการสร้างค่านิยมตามหลักสังคมนิยมในเยาวชนจีน ผ่านการศึกษาแบบเรียนวิชากิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้า ซึ่งเป็นแบบเรียนที่คณะกรรมการบริหารแห่งชาติกิจการกลุ่มยุวชนแนวหน้าจีน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 สำหรับนักเรียนระดับชั้นการศึกษาปีที่ 1-8 ผนวกกับการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม ทั้งป้ายประชาสัมพันธ์ โฆษณาตามรถโดยสารสาธารณะ และการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการสร้างค่านิยมตามหลักสังคมนิยมบนกระบวนทัศน์ที่มองเยาวชนในฐานะเป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคม จากการศึกษาพบว่า แบบเรียนวิชากิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้า ปรากฏเนื้อหาสำคัญที่สะท้อนถึงพลวัตการสร้างค่านิยมตามหลักสังคมนิยม แสดงให้เห็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมในด้านทางตรง ทั้งนี้ การเรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับค่านิยมตามหลักสังคมนิยมในแบบเรียนวิชากิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้า เกิดขึ้นจากเป้าประสงค์ของพรรคคอมมิวนิสต์ในการปรับแต่งนิสัยใจคอของเยาวชนในชาติ ให้มีจิตสำนึกในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่มีค่านิยมตามหลักสังคมนิยมตามระบอบคุณธรรมพื้นฐานของสังคมที่พึงปฏิบัติ ทั้งมีความเข้าใจในวัฒนธรรมลัทธิสังคมนิยม รวมถึงการทำหน้าที่เป็นยุวทูตในการเผยแพร่จิตวิญญาณความเป็นสังคมนิยม

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). สื่อเก่า-สื่อใหม่: สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). ชาติไทย เมืองไทย หนังสือเรียนและอนุสาวรีย์—ว่าด้วยวัฒนธรรม รัฐ และรูปการจิตสำนึก. กรุงเทพฯ: มติชน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สวีกุ้ยเซียง (เขียน), ปิยมาศ สรรพวีรพงศ์ (แปล). (2562). โครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน. กรุงเทพฯ: แสดงดาว.

สีจิ้นผิง. (2561). จีนก้าวหน้าต่อไปในยุคใหม่. (บุญศักดิ์ แสงระวี, แปล). กรุงเทพฯ: ชนนิยม.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักข่าวซินหัว. (2562, กันยายน 5). สีจิ้นผิงย้ำความสำคัญของการยกระดับมาตรฐานจริยธรรม-วัฒนธรรม. ซินหัวไทยออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.xinhuathai.com/china/สีจิ้นผิงย้ำความสำคัญข_20190905?fbclid=IwAR1ZCJiyiY9WabB6B_ODiVVSpCcrtbelQHIys5wsaZEHw6Ql4veX1McB7Ks

หลุยส์ อัลธูแซร์ (เขียน), กาญจนา แก้วเทพ (แปล). (2557). อุดมการณ์และกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

อัมพร สุคันธวณิช, พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2562). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อาร์ม ตั้งนิรันดร. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายจีน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

China Young Pioneers National Working Commission. (2018). Young Pioneers’ Activities Grade1-A. Beijing: China children's press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 一年级上册》, 北京 :中国少年儿童出版社,2018年版。)

China Young Pioneers National Working Commission. (2018). Young Pioneers’ Activities Grade3-B. Beijing: China children's press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 三年级下册》, 北京 :中国少年儿童出版社, 2018年版。)

Dong, Xiangqian. (2016). Research on patriotism education from the perspective of the Core Values of Chinese Socialism. Changchun: Northeast Normal University Press. (董向前《社会主义核心价值观视域下的爱国主义教育研究》, 长春 :东北师范大学出版社,2018年版。)

Office of the National Youth Work Committee. (2017). Notice on using the young pioneers' activities textbooks. Retrieved From http://www.sohu.com/a/145974830_787153

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020