รูปแบบพิธีกรรมการแต่งงานจากอดีตสู่ธุรกิจ Wedding

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา จิตชินะกุล คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • จุฬาวดี พูลเจริญ คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

รูปแบบพิธีแต่งงาน

บทคัดย่อ

รูปแบบพิธีกรรมในประเพณีแต่งงานของไทยได้เปลี่ยนไปตามสภาพสังคมจากเดิมที่เคยจัดพิธีกรรมหลายวันได้ลดลงเหลือจัดเพียงวันเดียว โดยมีรูปแบบของพิธีแต่งงานในอดีตนั้นจะมี 6 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ช่วงเช้าเจ้าบ่าวพร้อมขบวนขันหมากจะไปประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่บ้านเจ้าสาว จากนั้นทำพิธีรดน้ำ และส่งตัวคู่บ่าวสาว แบบที่ 2 ช่วงเช้าเจ้าบ่าวพร้อมขบวนขันหมากมาบ้านเจ้าสาวเพื่อประกอบพิธีสงฆ์ เซ่นไหว้บรรพบุรุษและ ส่งตัวคู่บ่าวสาว แบบที่ 3 ช่วงเช้าทำพิธีทางสงฆ์ เมื่อเสร็จพิธีเจ้าบ่าวจึงจะยกขบวนขันหมากมายังบ้านเจ้าสาว ทำพิธีรดน้ำ ส่งตัวคู่บ่าวสาว แบบที่ 4 ช่วงเช้าเจ้าบ่าวยกขบวนขันหมากมายังบ้านเจ้าสาว ทำบุญตักบาตรและจดทะเบียนสมรส ช่วงบ่ายรดน้ำ ส่งตัวคู่บ่าวสาว แบบที่ 5 ช่วงเช้าคู่บ่าวสาวทำพิธีทางสงฆ์อาจถวายสังฆทานหรือตักบาตรที่บ้านหรือที่วัด จากนั้นพิธีรดน้ำและจดทะเบียนสมรส ส่งตัวคู่บ่าวสาว และแบบที่ 6 ช่วงเช้าคู่บ่าวสาวตักบาตรที่บ้านหรือที่วัด จากนั้นทำพิธีรดน้ำ จดทะเบียนสมรส ทั้งนี้รูปแบบพิธีกรรมแต่งงานในอดีตเป็นการจัดพิธีแบบย่นย่อเพื่อต้องการประหยัดเวลาและทุนทรัพย์

แต่ช่วงปีพุทธศักราช 2500 รูปแบบของพิธีแต่งงานของไทยเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม มีการ์ดแต่งงานเกิดขึ้น การจัดงานเน้นความทันสมัยและหรูหรากว่าอดีต และในปีพุทธศักราช 2537 ได้เกิดธุรกิจรับจัดงานแต่งงานขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะเป็นผู้ดำเนินงานให้ทั้งหมด ลดความยุ่งยากในการจัดเตรียมงานให้แก่ คู่สมรส และทำให้คู่สมรสสามารถกำหนดรูปแบบของพิธีแต่งงานได้ตามความเหมาะสมของตนเอง จนทำให้รูปแบบของพิธีแต่งงานมีความหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการทางธุรกิจที่รับจัดงานแต่งงานโดยส่วนใหญ่ยังคงดำเนินการด้านพิธีกรรมการแต่งงานของไทยดั่งเช่นอดีตอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นการช่วยอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่คู่สังคมไทยต่อไป

References

ขันหมากร่วมสมัยตอนที่ 1. (ม.ป.ป.) ค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2551, จาก http://thaiweddingmall.com

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2527). พิธีแต่งงานแนวประหยัด. ม.ป.ท.

จันทร์ ไพจิตร. (ม.ป.ป). ประมวลพิธีมงคลของไทยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเซียงจงเจริญ.

ชีวัน เปี่ยมไพบูลย์. (2549). เกร็ดความรู้พิธีมงคลสมรส. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2551, จาก http://ruenjoawsao.com

ชีวิตสนุก 3. ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2551, จาก http://manager.co.th

ต้นรักสตูดิโอ. ค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2551, จาก http://tonrak.com

เบญจมาส แพทอง. (2544). นานาสาระวัฒนธรรมไทย. เล่ม2. กรุงเทพฯ: อาทิตย์โพดักส์ กรุ๊ป.

ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2529). ว่าด้วยพิธีแต่งงานของไทยสมัยก่อน. วารสารประชากรศึกษา. 37 (1): 13-19.

ป๊อก เชลชี. (2549). Wedding Reception. ขวัญเรือน. 38 (829): 141-142.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

พวงผกา ประเสริฐศิลป์. (2543). ประเพณีไทยกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสวัฒนธรรมโลก. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2551, จาก http://thaifolk.com

พูนพิสมัย ดิศกุล,หม่อมเจ้า. (ม.ป.ป). ประเพณีพิธีไทย. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

“ริชมอนด์รับจัดงานแต่งครบวงจร”. 1 พฤษภาคม 2550. บางกอกโพสต์: 2.

สิบสิ่งสำคัญพิธีแบบไทย. 2550. Wedding. 5 (เมษายน-มิถุนายน): 28.

อนุมานราชธน,พระยา. (2539). ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

อรรถพล อิทธิรัตนะโกมล. (2551, 28 พฤษภาคม). สัมภาษณ์. รองกรรมการผู้จัดการต้นรักสตูดิโอ. สัมภาษณ์.

อาณาจักร รัก ครบวงจร ต้นรักสตูดิโอ. ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2551, จาก http://thaiweddingmall.com

Wedding card. 2550. Wedding. (เมษายน-มิถุนายน): 64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2018