แนวทางการพัฒนาการให้บริการของงานหอสมุดและสารสนเทศ ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำสำคัญ:
การพัฒนาการให้บริการ, การบริการ, งานหอสมุดและสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคและความคิดเห็นของผู้ใช้บริการงานหอสมุดและสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการงานหอสมุดและสารสนเทศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้บริการงานหอสมุดและสารสนเทศ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการ เข้าใช้บริการห้องสมุดเพื่ออ่านหนังสือทั่วไปและค้นคว้าหาข้อมูล ความถี่ในการเข้าใช้บริการหอสมุดและสารสนเทศโดยเฉลี่ย 6-10 ครั้ง/เดือน ส่วนใหญ่ใช้บริการภายในหอสมุดมากกว่าใช้บริการผ่านเว็บไซต์หอสมุด ช่วงเวลาของการเข้าใช้บริการส่วนใหญ่เวลา 12.00–13.00 น. ประเภทบริการที่ใช้ ได้แก่ บริการยืม–คืน และห้องอ่านหนังสือ สำหรับปัญหาอุปสรรคและความคิดเห็นของผู้ใช้บริการหอสมุดและสารสนเทศ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์และทรัพยากรสารสนเทศประเภทโสตทัศนวัสดุยังไม่ทันสมัย (2) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการพิมพ์งานไม่เพียงพอ (3) ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ไม่มีห้องค้นคว้ากลุ่มย่อย และห้องน้ำในห้องสมุด (4) ด้านการบริการ พบว่า ไม่มีบริการถ่ายเอกสารในห้องสมุด (5) ด้านผู้ให้บริการ พบว่า ขาดผู้ให้บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า และขาดความชำนาญในการใช้เครื่องมือสืบค้น 2) แนวทางการพัฒนาการให้บริการงานหอสมุดและสารสนเทศทั้ง 5 ด้าน ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ด้านสภาพแวดล้อม ควรมีห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่มย่อย และจุดให้บริการน้ำดื่ม รองลงมา ได้แก่ ด้านผู้ให้บริการมีความเห็นว่าควรมีบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า ด้านการบริการเห็นว่าควรอนุญาตให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศไปถ่ายเอกสารภายนอกได้ และด้านทรัพยากรสารสนเทศเห็นว่า ควรมีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศนวัสดุที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการของหอสมุดและสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=3.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านทรัพยากรสารสนเทศในระดับมาก มากที่สุด (x̅=3.88) รองลงมาคือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับมาก (x̅=3.82) ด้านผู้ให้บริการ (x̅=3.79) และด้านบริการในระดับมาก น้อยที่สุด (x̅=3.77) ตามลำดับ
References
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2551). มาตรฐานไอทีสำหรับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล
นันทา วิทวุฒิศักดิ์. (2536). สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ดี.ดี.บุ๊คสโตร์.
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2555). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บุหลัน อุ้ยตระกูล. (2548). ความต้องการใช้สารสนเทศธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2553). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. ค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก https://www. dru.ac.th/index.php?menu=detail&action=objective
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2553). รายงานประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
รุจิรา เหลืองอุบล และน้ำลิน เทียมแก้ว. (2554). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี การศึกษา 2554. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วงเดือน เจริญ. (2553). ความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการสารสนเทศสำนักหอสมุด. ชลบุรี: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา.
สหไทย ไชยพันธ์. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องการใช้และความต้องการทรัพยากรสารสนเทศใน การค้นคว้าการศึกษาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. นราธิวาส: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). สถิติการใช้งานฐานข้อมูล. ค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2555, จาก https://www.uni.net.th/UniNet2011/report/statistic_using_rfdb.php
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. (2549). มาตรฐานห้องสมุด พ.ศ. 2549. ค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2555, จาก http://tla.or.th/index.php/about-association/standard
อมรรัตน์ ลออจันทร์. (2555). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจฉราภรณ์ เพ็งสถาน. (2546). รายงานการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการสารสนเทศของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ.
อาภากร ธาตุโลหะ, สายสุนี ฤทธิรงค์ และอุฬาริน เฉยศิริ. (2553). การศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2552. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อารีย์ ชื่นวัฒนา. (2545). ความต้องการใช้สารสนเทศ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30,3: pp.607-610. Retrieved June 29, 2012, from https://www.watpon.com/table/mogan.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)