นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ ชุด มูลมังบั้งไฟเอ้

ผู้แต่ง

  • สุวนันท์ เทียมตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ปวิชญาดา แสงชาติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • อัมพร ใจเด็จ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

บั้งไฟเอ้, ประเพณีบุญบั้งไฟ, นาฏยศิลป์สร้างสรรค์, นาฏยศิลป์พื้นบ้าน, มูลมัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนในการตกแต่งบั้งไฟเอ้ และสร้างสรรค์การแสดงนาฏยศิลป์พื้นบ้านอีสานชุด มูลมังบั้งไฟเอ้ โดยมีขอบเขตในการศึกษากรรมวิธีในการทำบั้งไฟเอ้ของจังหวัดยโสธร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาภาคสนาม ศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการมีส่วนร่วมในการทำบั้งไฟเอ้ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยมีดังนี้

1. บั้งไฟเอ้เป็นเอกลักษณ์หนึ่งในงานประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งนิยมนำมาร่วมในขบวนเซิ้งบั้งไฟเพื่อทำการแห่ประกอบขบวนบั้งไฟเอ้มีการประดับตกแต่งอย่างสวยงามตามแบบฉบับของชาวยโสธร ซึ่งตัวบั้งไฟเอ้ประกอบไปด้วย เลาบั้งไฟ หางบั้งไฟ และลูกบั้งไฟ โดยทำจากไม้ไผ่ทั้งหมดบั้งไฟเอ้นั้นมีการตกแต่งลวดลายด้วยกระดาษดังโกทองโดยนิยมใช้ลวดลายศิลปะไทย โดยขั้นตอนในการทำบั้งไฟเอ้ของจังหวัดยโสธร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การเตรียมการก่อนการตกแต่ง (2) ระหว่างการตกแต่ง (3) หลังจากการตกแต่ง

2. การแสดงสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้นำขั้นตอนในการทำบั้งไฟเอ้ในงานประเพณีบุญบั้งไฟของจังหวัดยโสธร มาสร้างสรรค์เป็นการแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 2 ช่วง คือ เริ่มต้นด้วยขั้นตอนในการทำและการตกแต่งบั้งไฟเอ้ จบลงด้วยขบวนแห่บั้งไฟเอ้ ทั้งนี้รูปแบบการแสดงนำเสนอในลักษณะการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน โดยผู้วิจัยได้การคัดเลือกผู้แสดง ออกแบบดนตรี เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง การจัดแสง การออกแบบแถว และออกแบบท่ารำให้สื่อถึงและสอดคล้องกับบริบทของประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร

References

กฤษฎา ชวนชูใจ. (2553). ภาพบั้งไฟเอ้หลังจากตกแต่งเสร็จ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561, จาก https://goo.gl/W6sGAh

ขนมไทยanc. (2556). ภาพรูปแบบการตั้งขบวนรำเซิ้งบั้งไฟ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561, จาก https://goo.gl/sDZR8f

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2557). ศิลปะการออกแบบท่ารำ (นาฏศิลป์สร้างสรรค์). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อ.ก๊อปปี้เซ็นเตอร์.

นพดล ศรีสว่าง. (2550). รายงานการใช้คู่มือประดิษฐ์ท่ารำเซิ้งยางพาราประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชุดเซิ้งยางพารา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

ประทิน พวงสำลี. (2514). หลักนาฏศิลป์. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยมิตรการพิมพ์.

ยูร กมลเสรีรัตน์.(2546). บุญบั้งไฟยโสธร ประเพณีขอฝนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

สุนันทา กินรีวงค์. (2554). ชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร : กรณีศึกษางานประเพณีบุญบั้งไฟ ตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา กลํ่าเจริญ. (2531). สุนทรียนาฏศิลป์. กรุงเทพฯ: โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

kong99plus. (2555). ภาพการนำลูกบั้งไฟมาประกอบเข้ากับเลาบั้งไฟ สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561, จาก https://www.youtube.com/watch?v=ln7HPOng4iM

kong99plus. (2555). ภาพการประกอบลวดลายและหัวพญานาคเข้ากับตัวบั้งไฟเอ้. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561, จาก https://www.youtube.com/watch?v=ln7HPOng4iM

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2018