กลวิธีการใช้ศัพท์ในบทวิจารณ์อาหารของแฟนเพจ Starvingtimeเรื่องกินเรื่องใหญ่

ผู้แต่ง

  • อาภรณ์ เอี่ยมสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิริวรรณ นันทจันทูล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุรีย์รัตน์ บำรุงสุข คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กลวิธีการใช้ศัพท์, บทวิจารณ์อาหาร, แฟนเพจ Starvingtime เรื่องกินเรื่องใหญ่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ศัพท์ในบทวิจารณ์อาหารของแฟนเพจStarvingtime เรื่องกินเรื่องใหญ่โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบทวิจารณ์ของแฟนเพจตั้งแต่ 1 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2561 รวมทั้งสิ้น 460 ตัวบท วิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้กรอบแนวคิดกลวิธีการใช้ศัพท์ ของจันทิมา อังคพณิชกิจ (2557) แนวคิดการรับประสาทสัมผัสของ กันสตรีม (Gunstream, 2006) และแนวคิดการโฆษณาของ ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี (2556) ผลการศึกษาพบกลวิธีการใช้ศัพท์ 3 กลวิธี โดยพบการใช้ศัพท์เกี่ยวกับประสาทสัมผัสมากที่สุด (ร้อยละ 51.59) ได้แก่ การใช้ศัพท์แสดงการรับรสและเนื้อสัมผัส การใช้ศัพท์แสดงการรับกลิ่น และการใช้ศัพท์แสดงการมองเห็น รองลงมา คือการใช้ศัพท์เกี่ยวกับลักษณะของอาหาร (ร้อยละ 32.63) ได้แก่ การใช้ศัพท์แสดงความสดใหม่ การใช้ศัพท์แสดงปริมาณ และการใช้ศัพท์แสดงขนาด และลำดับสุดท้าย คือ การใช้ศัพท์เกี่ยวกับกลวิธีทางการตลาด (ร้อยละ 15.78) ได้แก่ การใช้ศัพท์แสดงราคาของอาหารการใช้ศัพท์แสดงกลุ่มเป้าหมายของร้านอาหาร และการใช้ศัพท์แสดงการส่งเสริมการขาย

References

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2557). การวิเคราะห์ข้อความ (Discourse analysis). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2556). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล. (2555). Consumer Trust Crysis เมื่อความน่าเชื่อถือ ‘โฆษณาแบบเดิม’ลดลงถึงขีดสุด. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561, จาก www.digithun.com

ภพ สวัสดี.(2558). กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่ออุดมการณ์ความเป็นผู้หญิงในโฆษณาสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 35(3): 150-174.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วัฒนา แช่มวงษ์, กาญจนา พรายงาม และปิยพล ไพจิตร. (2558). กลวิธีการใช้ภาษาในวาทกรรมโฆษณาเครื่องสำอางในภาษาไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2540). การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: A.N. การพิมพ์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดมูลค่าตลาดร้านอาหารปี 61 ขยายตัวร้อยละ 4-5. ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2561, จาก http://www.thansettakij.com/content/266747

สัณห์จุฑา จำรูญวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทฟูดทรัก (Food Truck) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจการย้ายถิ่นของประชากรในปี 2560. ค้นเมื่อ18 กันยายน 2561, จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N22-03-61-2.aspx

Gunstream, S.E. (2006). Anatomy and Physiology Study Guide. 3rd ed. New York, NY: McGraw-Hill.

Spelke. (1985). The Development of Intermodel Perception, In Handbook of Infant Perception. New York: Academic Press.

ThothZocia. (2017). เผยสถิติโซเชียลไทยใน Thailand Zocial Awards 2017 ผู้ใช้ twitter เติบโตก้าวกระโดด. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561, จาก https://www.it24hrs.com/2017/thailand-zocial-awards-stat-social-media-2017/

Wongnai. (2560). 2561 สรุปข้อมูลเทรนด์ธุรกิจร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านห้ามพลาด. ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2561, จาก https://www.wongnai.com/business-owners/thailandrestaurant-trend-2018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2018