การวิเคราะห์เนื้อหาสารและกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อ การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสื่อออนไลน์

ผู้แต่ง

  • รสริน ดิษฐบรรจง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

เนื้อหาสาร, กลวิธีการใช้ภาษา, ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, สื่อออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาเนื้อหาสารและกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสื่อออนไลน์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลเนื้อหาและการใช้ภาษาในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากสื่อออนไลน์ 3 ประเภท   ได้แก่  เฟซบุ๊ก ไลน์และอินสตาแกรม โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวประเทศไทยที่เป็นที่นิยม ได้แก่ เพจเฟซบุ๊ก Trip TH Thailand ไลน์ Amazing Thailand และอินสตาแกรม Chillpainai ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2562 – เดือนธันวาคม 2562 จำนวน 842 เรื่อง ผลการวิจัยพบเนื้อหาสารเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แบ่งเป็นภาคต่างๆ  ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคตะวันออก ตามลำดับ การนำเสนอข้อมูลหลัก ประกอบด้วย การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเชิงวัฒนธรรมและสิ่งที่มีชื่อเสียงของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณีและวัฒนธรรมสำคัญ  วิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน พันธุ์ไม้ท้องถิ่น อาหารท้องถิ่น งานศิลป์ ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น งานแสดงทางวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ และโบราณสถานและโบราณวัตถุ ตามลำดับ ข้อมูลสนับสนุนข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ข้อมูลติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ได้แก่   ที่ตั้งสถานที่ (google map)   เบอร์โทรศัพท์   วันและเวลาเปิด-ปิด ค่าใช้จ่าย เว็บไซต์ ที่อยู่ การให้ข้อมูลหน่วยงานที่รับผิดชอบ   เฟซบุ๊ก   ไลน์   อินบ็อก  อีเมล อินสตาแกรม  และคิวอาร์โคด ตามลำดับ วิธีการเดินทาง ให้ข้อมูลการเดินทางที่หลากหลาย ได้แก่ รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารสาธารณะ มีทั้งรถโดยสารประจำทาง เรือ รถไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ รถไฟ รถสองแถว เครื่องบิน   และรีวิวเพิ่มเติม   ได้แก่ การรีวิวในรูปแบบข้อความผ่านเว็บไซต์   วิดีโอ   และการติดแฮชแท็ก  กลวิธีการใช้ภาษาที่ใช้ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสื่อออนไลน์ ปรากฏ 6 วิธี ได้แก่ การใช้วัจนกรรม เพื่อแสดงเจตนาในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ปรากฏวัจนกรรมกลุ่มบอกกล่าว วัจนกรรมกลุ่มชี้นำ วัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก วัจนกรรมกลุ่มผูกมัด และวัจนกรรมกลุ่มแถลงการณ์ การอ้างถึง พบการใช้คำอ้างถึง การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม ปรากฏการใช้การเชื่อมโยงคำศัพท์ (Lexical Cohesion) ที่มีความหมายถึง การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม  การขยายความ ปรากฏการขยายความโดยการระบุสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ลักษณะทางกายภาพ การขยายความหมายเกี่ยวกับความสวยงามของสถานที่ และอัตลักษณ์ท้องถิ่น การใช้ภาพพจน์ ปรากฏภาพพจน์ สมญานาม อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ การเล่นเสียง ปฏิปุจฉา บุคลาธิษฐาน สัทพจน์ การเล่นคำ และนามนัย  การใช้เรื่องเล่า ปรากฏเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ และเรื่องเล่าทางคติชน กลวิธีทางสัญญะ ปรากฏการจัดวางองค์ประกอบ การสื่อความหมายผ่านรูปภาพ และการใช้รูปแบบอักษร

References

กังสดาล ศิษย์ธานนท์ และพรพรรณ ประจักรเนตร. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิต รูปแบบการใช้สื่อออนไลน์ และความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(1), หน้า 1-17.

กันตภณ แก้วสง่า, บุษบา สุธีธร และอภิชญา อยู่ในธรรม. (2563). การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่านเครือข่ายสังคม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), หน้า 14-28.

กันยารัตน์ ผ่องสุข. (2553). เนื้อหาและกลวิธีการใช้ภาษาในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิ้วกลม. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรุงเทพธุรกิจ. (2561). ททท.เปิดตัวแคมเปญโฆษณายิ่งใหญ่ Amazing ไทยเท่. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/pr/Detail/40292

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด. (2552). การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชญานี รัตนรอด. (2550). การใช้ภาษาและกลวิธีการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฏฐินี ทองดีและคณะ. (2553). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การจัดการความรู้ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอารยธรรมลุ่มน้ำบริเวณที่ราบสูงโคราชเพื่อการสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ทรงธรรม อินทจักร. (2550). แนวคิดพื้นฐานด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนิศา แสวงพรรค. (2560). แรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูล และการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้บริโภคหญิงโสดวัยทำงาน. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 3(2), หน้า 61-70.

นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2559) วัฒนธรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารรามคำแหงฉบับมนุษยศาสตร์, 35(2), หน้า 171-184.

นฤมล เพิ่มชีวิต. (2552). การแสวงหาข้อมูล การใช้ประโยชน์และความเชื่อถือในข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองของคนวัยทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา มีสุวรรณ. (2563). การวิเคราะห์งานเขียนรีวิวในเฟซบุ๊กแฟนเพจ Trip Th ทริปไทยแลนด์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(1), หน้า 30-47.

พจนา บุญคุ้ม และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการตลาดในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มภาคกลางตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน และคณะ. (2557). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8 (3), หน้า 63-82.

วริศรา บุญสมเกียรติ. (2555). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช: วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดธาตุน้อยและโบราณสถานวัดโมคลาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). เปิดพฤติกรรมออนไลน์ 2018 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 3 เท่า Baby Boomer พีคสุดวันละ 8-12 ชั่วโมง. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/08/thailand-internet-user-profile-2018/

Amazing Thailand. (2562, กุมภาพันธ์ 18). ชมสถาปัตยกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา [Line Official]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/hXSDj

Amazing Thailand. (2562, กุมภาพันธ์ 19). เที่ยวนครพนม ไหว้ 7 พระธาตุประจำวันเกิด [Line Official]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/FDa2N

Amazing Thailand. (2562, มีนาคม 16). หาดเกาะกระดาน [Line Official]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/kl59m

Amazing Thailand. (2562, พฤษภาคม 18). วันวิสาขบูชา [Line Official]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/t7quw

Amazing Thailand. (2562, กรกฎาคม 9). ตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทานจังหวัดสระบุรี [Line Official]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/g8S5R

Amazing Thailand. (2562, กรกฎาคม 27). เลยเมืองเลยไปเที่ยวอำเภอด่านซ้าย [Line Official]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/m5Ozi

Amazing Thailand. (2562, ตุลาคม 18). ชุมชนคนช้างกลาง แห่งอำเภอช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช [Line Official]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/9iXdA

Austin, J.L. (1962). How to Do Things with Words. Oxford: Clarendon Press.

Chillpainai. (2562, สิงหาคม 1). พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นจาก https://www.instagram.com/chillpainai

Searle, J.R. (1969). Speech Acts: An Essays in the Philosophy of Language. Cambridge: Cambridge University Press

Trip TH Thailand. (2562, มกราคม 9). ทะเลบัวแดง จังหวัดอุดรธานี [Facebook]. สืบค้นจากhttps://shorturl.asia/uL0Vc

Trip TH Thailand. (2562, พฤษภาคม 15). ตามรอยกรงกรรมเที่ยวชุมแสง [Facebook]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/d5r0F

Trip TH Thailand. (2562, มิถุนายน 20). โบสถ์สีน้ำเงิน จันทบุรี [Facebook]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/1WNj7

Trip TH Thailand. (2562 กรกฎาคม 28). วัดไตรมิตรวิทยาราม [Facebook]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/y9N7c

Trip TH Thailand. (2562, สิงหาคม 4). น่าน เมืองชิคๆ กลางขุนเขา [Facebook]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/1Me05

Trip TH Thailand. (2562, สิงหาคม 6). ราชบุรีเมืองชิคโดนใจสายชิว [Facebook]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/orw6G

Trip TH Thailand. (2562, กันยายน 18). เปิดเมืองลับลำพูน [Facebook]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/37UAz

Trip TH Thailand. (2562, ธันวาคม 4). ปักหมุด 6 สตรีทอาร์ตสุดเท่เกาะสมุย [Facebook]. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/JSNqM

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2021