Participation Strategies in The Project Management Process of Improving The Potential to Protect People's Lives and Property of The People, Public and Private Sector Networks
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพใน การป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (3) นำเสนอกลยุทธ์การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์ ใช้วิธีคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 33 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เฉพาะเรื่อง และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการวางแผนโครงการ การดำเนินการโครงการ และ การประเมินผลโครงการระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการมากที่สุด (2) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายมีจุดแข็งมากที่สุดคือ ความรู้และศักยภาพของบุคลากร จุดอ่อนมากที่สุดคือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการไม่ทั่วถึง โอกาสมากที่สุดคือ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้และมาต่อยอดโครงการ และภัยคุกคามมากที่สุดคือ กฎหมายหรือระเบียบที่ไม่ยืดหยุ่นและการไม่สนับสนุนจากผู้บริหารท้องถิ่นในบางพื้นที่ และ (3) กลยุทธ์การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารโครงการ ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบด้วย การขยายบริการด้านการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ การเพิ่มช่องทางออนไลน์ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนดูภาพสดจากกล้อง CCTV บริเวณที่สำคัญในจังหวัด และการเพิ่มศูนย์บริการประชาชนในการดูภาพจากกล้อง CCTV ได้ที่ อปท. ในพื้นที่ 2) กลยุทธ์เชิงรับ ประกอบด้วย การสร้างพันธมิตรกับเครือข่ายในพื้นที่ช่วยสอดส่องในการดูแลรักษาทรัพย์สิน และการถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และแนวทางการมีส่วนร่วมให้กับภาคีเครือข่าย 3) กลยุทธ์เชิงพัฒนา ประกอบด้วย การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ในการเชื่อมโยงสัญญาณภาพกล้อง CCTV ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น การใช้เทคโนโลยีในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เครือข่ายรับทราบเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมมากขึ้น และการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิด และ 4) กลยุทธ์เชิงถอนตัว ประกอบด้วย การให้เอกชนเข้ามาดูแลระบบและแก้ไขปัญหาทางเทคนิค และการขอรับงบประมาณสนับสนุน จากส่วนกลาง หรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อพัฒนาผู้ให้บริการและการบริหารงาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of KMITL Business School is available both online and in printed version.
**All articles or opinions presented in this issue of the Journal of KMITL Business School reflect the thoughts of their respective authors. This journal serves as an independent platform for a variety of viewpoints. Authors bear full responsibility for the content of their articles.**
**All articles published in this journal are copyrighted by KMITL Business School, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. The editorial team permits copying or using articles, but a reference to the journal is required.**
References
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 114. หน้า 48/17 [Act on Decentralization Plan and Procedures for Local Administrative Organizations, B.E. 2542. 1999. Royal Gazette. Volume 116, Chapter 114. Page 48/17, (in Thai)]
Souder, W.E. 1988. Selecting Projects that Maximize Profits. Project Management Handbook,140-164.
King, W.R. and Cleland, D.I. 1978. Strategic Planning and Policy. Van Nostrand Reinhold publishing, London.
Cohen, J.M., and Uphoff, N.T. 1981. Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation. Cornell University publishing, New York.
Miller, A. and Dess, G.G. 1993. Strategic management. McGraw-Hill publishing, London.
Starkey, P. 1997. Networking for Development. International Forum for Rural. Transport and Development publishing, London.
ฝ่ายสถิติข้อมูลและสารสนเทศ. 2556. คู่มือโครงการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี, แหล่งข้อมูล : https://www.suphan.go.th/content-82.html ค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า. 2566. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. สูจิบัตรรางวัลพระปกเกล้า 2566. 103-105 [King Prajadhipok's Institute. 2023. Suphanburi Provincial Administrative Organization.King Prajadhipok's Award Program 2023, 103-105. (in Thai)]
สุภางค์ จันทวานิช. 2561. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. [Suphang Chantawanich. 2018. Qualitative research methods. 24th ed, Chulalongkorn University Press, Bangkok. (in Thai)]
สุภางค์ จันทวานิช. 2559. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. [Suphang Chantawanich. 2016. Data analysis in qualitative research. 12th ed, Chulalongkorn University Press, Bangkok. (in Thai)]
นฤมล บุญเนื่อง และลักษณา ศิริวรรณ. 2565. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน: กรณีศึกษาอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(2), 697–710. [Naruemol Boonnueang and Laksana Siriwan. 2022. Participation in Quality of Life Development in Area-Based Level of Public-Private-People Sector: A Case Study of Mueang Samut Sakhon District Samut Sakhon Province. Journal of Humanities and Social Sciences Pibulsongkram Rajabhat University, 16(2), 697–710. (in Thai)]
ปลายฟ้า ทองดอนพุ่ม. 2563. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการป่าไม้ชุมชน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.[Plaifah Thongdonphum. 2021. Factors influencing public participation in community forest management San Sai District, Chiang Mai Province. Master of Public Administration, National Institute of Development Administration. (in Thai)]
คณิศร เขตุเจริญ. 2565. การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาวะผู้นำขององค์การบริการส่วนตำบลกบินทร์ : กรณีศึกษาฝายชะลอน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ (คลองพระปรง) บ้านนางเลง หมู่ 5 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. [Kanisorn Khetcharoen. 2023. A study of community participation and leadership of the Kabin Subdistrict Service Organization: A case study of a water slowdown weir for soil and water conservation (Khlong Phra Prong), Ban Nang Leng, Village No. 5, Kabin Subdistrict, Kabinburi District, Prachinburi Province. Master of Public Administration, National Institute of Development Administration. (in Thai)]
อภิวัฒน์ รุ่งสาคร. 2563. การขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษากลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ ดอนไก่ดี ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. [Apiwat Rungsakhon. 2021. Driving the One Tambon One Product Project: A Case Study of the Benjarong Village Group Donkaidee, Donkaidee Subdistrict, Krathumban District, Samut Sakhon Province. Master of Public Administration, National Institute of Development Administration. (in Thai) ]
ปรัชญา เวสารัชช์. 2528. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. [Prachaya Vesarat. 1985. Participation of citizens in activities for rural development. Thai Kasetsuksa Institute Thammasat University, Bangkok. (in Thai)]
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2561. การบริหารงานภาครัฐแบบมีส่วนร่วม. แหล่งข้อมูล :
https://www.opdc.go.th/content/Mjc4Nw. ค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566.
พระอนุภัทร เขมวรเมธี, นาวิน พรมใจสา และวิกรม บุญนุ่น. 2566. กลยุทธ์การมีส่วนร่วมระหว่างวัด กับชุมชน ตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย.
วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 11(1), 14-24. [Phra Anuphat Khemaworamethe, Nawin Promjisa and Vikram Boonnoon. 2023. Strategy for Engagement between Temples and Communities in Tumbon Ta Khuntan District Chiang Rai Province. Journal of Humanities Social Science Review Lampang Rajabhat University, 11(1), 14-24. (in Thai)]