การพัฒนาส่วนค้นหาและแนะนำข้อมูลวัดบนเว็บแอปพลิเคชัน Wat Portal
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาส่วนการค้นหาและแนะนำข้อมูลวัดบนเว็บแอปพลิเคชัน Wat Portal ค้นหาโดยนำแนวคิด Similarity มาเป็นเครื่องมือในการวัดความคล้ายคลึงระหว่างชุดข้อมูลนำมาเปรียบเทียบและวัดความคล้ายคลึงระหว่างคำที่ใช้ในการค้นหาของผู้ใช้งาน และ มีการพัฒนาฟังก์ชั่นเพื่อแนะนำวัดที่มีความเกี่ยวข้องกันมานำเสนอเพื่อแนะนำให้แก่ผู้ใช้งานได้ให้ได้รับข้อมูลที่ตรงตามความต้องการ โดยในงานวิจัยนี้หลังจากที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาเสร็จสิ้นผู้วิจัยต้องการที่จะวัดประสิทธิภาพการทำงานของฟังก์ชั่นที่พัฒนาขึ้นมาใหม่บนเว็บแอปพลิเคชัน Wat Portal จึงได้จัดทำแบบสอบถามขึ้นมาโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคคลทั่วไปที่เคยใช้งานส่วนค้นหาและแนะนำข้อมูลวัดบนเว็บแอปพลิเคชัน Wat Portal ที่ได้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามหัวข้อ “การวัดประสิทธิภาพในการใช้งานส่วนค้นหาและแนะนำข้อมูลวัดด้วยแนวคิด Similarity บนเว็บแอปพลิเคชัน Wat Portal” โดยเก็บข้อมูลและนำมาสรุปผลการวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อมูล สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ร้อยละ (Percentage) และแจกแจงความถี่ (frequency)การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Central Tendency) ด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ย (Mean) และการวัดการกระจาย (Measure of Variation) ด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) โดยข้อมูลที่ได้ทำให้ได้ทราบถึงประสิทธิภาพของการทำงานในฟังก์ชั่นที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมาและนำข้อมูลไปสำหรับพัฒนาต่อยอดแอปพลิเคชันในเวอร์ชั่นถัดไปในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารบริหารธุรกิจมีทั้งเเบบวารสารออนไลน์เเละวารสารเล่มฉบับ
** บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะผู้เขียนบทความแต่ละท่าน กองบรรณาธิการวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเสรีด้านความคิดและไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของ
กองบรรณาธิการ **
** บทความที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความแต่ต้องอ้างอิงแสดงที่มาของวารสารที่นำไปคัดลอกให้ชัดเจน**
References
วิมลมาศ กุลแก้ว. 2563. การประเมินความคงตัวทางพันธุกรรมกล้วยไข่ที่ผลิตจากระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราว โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SRAP. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(1), 1-10. [Wimolmas Kulkaew. 2020. Genetic Stability Assessment of Banana cv. Kai Egg Produced from Temporary Immersion Bioreactor System Using SRAP Molecular Markers. Journal of Science Naresuan University, 12(1), 1-10. (in Thai)]
ณัฐนนท์ ลีลาตระกูล. 2561. การสร้างกราฟแสดงวิวัฒนาการของซอร์สโค้ดในระบบตรวจจับการลอกเลียนซอร์สโค้ด. วารสาร BUUIR คลังปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา, 21-28. [Natthanon Leelatrakul. 2018. Constructing Source Code Evolution Graphs in a Source Code Plagiarism Detection System. BUUIR Intellectual Repository Journal Burapha University, 21-28. (in Thai)]
ศุภวัจน์ แต่รุ่งเรือง. 2560. การตรวจเทียบภายนอกหาการลักลอกในงานวิชาการโดยใช้แบบจำลองซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนและการวัดค่าความละม้ายของข้อความ. วารสาร Chula Digital Collections จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 143-152. [Suphawat Butarungsri. 2017. Extrinsic Plagiarism Detection in Academic Texts Using Support Vector Machines and Text Similarity Measures. Chula Digital Collections Journal Chulalongkorn University, 143-152. (in Thai)]
นภัสกร ขุนโขลน. 2557. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพลูคาวในพื้นที่ 5 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยโดยเทคนิคเอเอฟแอลพี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 237-246. [Naphat Khun-Khlon. 2014. Genetic Diversity of Houttuynia cordata in Five Northern Provinces of Thailand Using AFLP Analysis. Agricultural Science Journal Chiang Mai University, 237-246. (in Thai)]
อัจฉราวรรณ งามญาณ. 2554. อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน. แหล่งข้อมูล : http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/
Jba131/Article/JBA131Acharawan.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567.
Tversky.A. 1997. Similarity theory. Academic Press Journal, 117-145.
Cronbach.L. 1910-2001. Cronbach's alpha coefficient is a tool for measuring the internal consistency of a questionnaire or measurement instrument. Available at: https://www.smartresearchthai.com. Retrieved 1 April 2024.
Liu.J. 2020. A Survey on Similarity-Based Methods for Recommender Systems. Available at: https://ieeexplore.ieee.org/document/9648825. Retrieved 1 April 2024.
Tang.M. 2020. Evaluating single-cell cluster stability using the Jaccard similarity index. Available at: https://academic.oup.com/bioinformatics/article/37/15/2212/5962080. Retrieved 1 April 2024.
Jaccard.P. 1901. Big Data Analytics for Social Media. Available at: https://www.sciencedirect
.com/topics/computer-science/jaccard-similarity. Retrieved 1 April 2024.
2017. Social Media Usage in 2024 This report explores social media usage behavior. Available at: https://www.pewresearch.org/internet/wp-content/uploads/sites/9/2024/01/PI_2024.01.31_Social-Media-use_report.pdf. Retrieved 1 April 2024.
Baharav.T. 2019. Spectral Jaccard Similarity: A new approach to estimating pairwise sequence alignments. Available at: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7660437. Retrieved 1 April 2024.
Wu.W. 2010. Enhancing academic search by integrating tags and citation networks. Available at: https://ieeexplore.ieee.org/document/5254709. Retrieved 1 April 2024.
Zhu.Y. 2007. A Tag-Based Semantic Search Engine for Academic Literature. Available at: https://ieeexplore.ieee.org/document/5254709. Retrieved 1 April 2024.
Dong.y. 2015. A hybrid approach for academic search using tags and citation networks. Available at: https://ieeexplore.ieee.org/document/5254709. Retrieved 1 April 2024.